กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7032
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorจารุวรรณ เขียวน้ำชุม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7032
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุตัวแปรระดับบุคคลและระดับสาขาวิชา และสร้างโมเดลพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 720 คน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 180 คน และนิสิต/นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 540 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 สาขาวิชา โดยใช้การสุ่มแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายระดับบุคคล คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และเจตคติต่อการเรียน ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายระดับสาขา คือ คุณภาพการสอน และการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตัวแปรผลลัพธ์หรือตัวแปรผล คือ การเรียนรู้แบบนำตนเอง ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัว คือ การวินิจฉัยความต้องการ การเรียนรู้ การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การระบุแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นคนและวัสดุอุปกรณ์ การเลือกและปฏิบัติด้วยกลวิธีการเรียนที่เหมาะสม และการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และมีความเชื่อมั่นสูง สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ การตรวจสอบ ความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Mplus 7.00 ผลการวิจัย พบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 6.609, df = 8, p = 0.5793, CFI = 1.00, RMSEA = 0.000, X2/ df = 0.826, SRMRw = 0.003, SRMRb = 0.029 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 243.845, df = 118, p = .000, X2/ df = 2.066, RMSEA = 0.047, CFI = 0.957, TLI = 0.941 โดยแบ่งระดับการทำนาย ดังนี้ 2.2 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับบุคคล พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ACH) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.687 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรเจตคติต่อการเรียน (ATL) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.236 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (SEF) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.420 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ACH) ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเจตคติต่อการเรียน (ATL) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.343 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (SEF) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.611 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 47.20 2.2 ตัวแปรทำนายระดับสาขาวิชา พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม จากตัวแปรคุณภาพการสอน (TEQ) มีขนาดอิทธิพลตรงเท่ากับ -0.634 และมีขนาดอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.820 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรบรรยากาศในชั้นเรียน (CLC) มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.924 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน (CLC) ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรคุณภาพการสอน (TEQ) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.887 อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 เส้นทาง พบว่า ไม่มีตัวแปรทำนายอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการเรียนรู้องค์การ
dc.subjectการเรียนการสอนแบบตกผลึก
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
dc.title.alternativeThe multi-level cusl fctors influencing students’ self-directed lerning of eduction fculty in the northest region universities
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe present research purposed to examine causal factors both an individual level and the major field level, and to develop the multilevel causal model of factors which influenced on student’s self-directed learning of Education Faculty in the Northeast region Universities. The total of 720 samples from 36 majors in academic year 2016 were obtained by multi-stage random sampling, consisted of 180 major field instructors and 540 senior students. Causal variables at an individual level were achievement motive, self-efficacy, and learning attitude whereas at the major field level were teaching quality and classroom climate. The dependent variable was self-directed learning, comprised of 5 observable variables, namely diagnosis their own learning needs, formulating learning goals, identifying human and material resources for learning, choosing and implement appropriate learning strategies, and evaluating learning outcomes. Five point Likert scale questionnaires with high reliability and content validity were used for data collection. Multilevel confirmatory factor analysis and examining validate the proposal multilevel causal model were performed using Mplus version 7.00. Findings were as follows: 1. The measurement model of variables in multilevel equation model of Education Faculty students’ self-directed learning in Northeast region Universities was consistent with empirical data with X2 = 6.609, df = 8, p = .5793, CFI = 1.00, RMSEA = 0.000, X2/ df = 0.826, SRMRw = 0.003, SRMRb = 0.029, met the setting criterion. 2. Multilevel causal model which influenced on Education Faculty students’ self-directed learning was consistent with empirical data with X2 = 234.845, df = 118, p = .000, X2/ df = 2.066, RMSEA = 0.047, CFI = 0.957, TLI = 0.941. Levels of prediction could be presented as follows: 2.1 For the variables used to predict dependent variable at an individual level, it was found that achievement motive did significant direct effect on self-directed learning with effect size of 0.687 (p < .01), learning attitude and self-efficacy did significant indirect effect on self-directed learning with effect size of 0.236 (p < .01), and 0.420 (p < .01), respectively. In addition, it was also found that learning attitude and self-efficacy did significant direct effect on achievement motive with effect size of 0.343 (p < .05), and 0.611 (p < .01), respectively. The coefficient of determination was 47.20 percentage. 2.2 For the variables used to predict dependent variable at the major field level, it was found that teaching quality did nonsignificant direct and indirect effect on self-directed learning with effect size of -0.634 (p > .05) and 0.820 (p > .05), respectively, and also found that classroom climate did nonsignificant direct effect on self-directed learning with effect size of 0.924 (p > .05). In addition, classroom climate received significant direct effect from teaching quality with effect size of 0.887 (p < .01). In summary, there were no any causal variables at this level influencing on Education Faculty students’ self-directed learning in Northeast region Universities.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น