กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/702
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อภิวัฒน์ ห่อเพชร | th |
dc.contributor.author | ธีระพงษ์ ภูริปาณิก | th |
dc.contributor.author | พรพรรณ วิศาลวรรณ์ | th |
dc.contributor.author | สุรีย์พร ปั้นเปล่ง | th |
dc.contributor.author | ศิริพร รูปเล็ก | th |
dc.contributor.author | ชลธิชา แป้นจันทร์ | th |
dc.contributor.author | สุภาวรรณ ธรรมสาโร | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:53:02Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:53:02Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/702 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อศึกษาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ศักยภาพและอุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวใหม่บริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวใหม่บริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีจุดแข็งในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้คือ อ่างเก็บน้ำประแสร์สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดระยองต่อไปในอนาคตได้ เพราะโดยพื้นที่เกือบ 25,000 ไร่ นับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก หากทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย จะเกิดผลดีตามมา คือ เสริมฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกทางหนึ่ง , ประชาชนเริ่มมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน และมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อรองรับในการท่องเที่ยว , ทรัพยากรธรรมชาติยังไม่ถูกทำลาย , ทำเลที่ตั้งเหมาะสมและมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว , ตัวอ่างเก็บน้ำประแสร์และทำนบดินปิดช่องเขาต่ำ สามารถพัฒนาเป็นจุดชมวิวและจุดแวะพักของนักท่องเที่ยวได้ , การคมนาคมสะดวกไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากและสามารถให้บริการได้ตลอดปี พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีจุดอ่อนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้ คือ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังไม่ถึงระดับที่กักเก็บ จึงยังไม่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ , กรมชลประทานยังไม่อนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ ทำให้การพัฒนาด้านท่องเที่ยวยังไม่เป็นรูปธรรม , การกว้านซื้อที่ดินของนายทุน ในพื้นที่ติดกับอ่างทำให้การเข้าไปพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำได้ล่าช้า , ประชาชนในพื้นที่และบุคลากรของ อบต. ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจ หน้าที่ของการจัดการเกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ , ถนนหนทางในเขตหมู่ 4 ยังไม่สะดวกต่อการสัญจรไปมา , ไฟฟ้าสาธารณะ มีไม่ทั่วทุกซอย และระบบไม่ดีพอ , น้ำประปามีความสะอาดไม่เพียงพอต่อการนำมาบริโภค และน้ำประปายังมีไม่ทั่วถึง , ขาดการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการข่าวสาร ข้อมูลแก่ประชาชน , ประชาชนขาดทักษะในการรวมกลุ่ม , ประชาชนยังขาดจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการใช้และอรุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ , ขาดการพัฒนาสถานที่และอาชีพที่เด่นของหมู่บ้านที่จะเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว , หน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนน้อยมากโดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมการปกครอง , แผนงานการท่องเที่ยว ยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีศักยภาพที่จะส่งเสริมได้ , การอพยพย้ายถิ่นของคนในชุมชนอื่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ทำให้ขาดความสำนึกที่ดีในการมีส่วนร่วมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้คือ กระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้จังหวัดระยองมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้านประเพณีและวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น , นโยบายรัฐบาลเอื้อค่าการพัฒนาและการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว , ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ , ความร่วมมือระหว่างประเทศ , ความมั่นคงของการเมืองระดับชาติ , การพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรเพื่อให้เป็นที่พอใจแก่นักท่องเที่ยว , การสนับสนุนจาก ททท. ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ , เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นภายในจังหวัด , เอกชนมีความสนใจที่จะมาลงทุนสร้าง-แหล่งท่องเที่ยว สร้างพันธมิตรและเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ , เป็นพันธมิตรและเชื่อมโยงระบบท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง , เนื่องจากจังหวัด ระยองมีพื้นที่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจึงมีโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติและอยู่ในเขต Eastern Seaboard เอื้อต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่ง และพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีภัยคุกคามในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้คือ การวางแผนและการพัฒนาการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการส่งเสริม เพราะจังหวัดระยอง เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก , องค์กรชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมหากดูแลจัดการไม่ดี , ขาดการสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์ , คู่แข่งจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นซึ่งมีชื่อเสียงดั้งเดิม และมีจุดขายชัดเจนกว่า , ไม่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น บริษัททัวร์ เป็นต้น , การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ มีความซ้ำซ้อน , รัฐให้ความสนใจในการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวน้อย , มีการทำประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ไม่ช่วยสร้างแหล่งใหม่หรือพัฒนาแหล่งที่ด้อยโอกาส , การพัฒนาเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาดังเดิมได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน , ปัญหากฎระเบียนไม่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพราะจังหวัดระยองเน้นทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม , จังหวัดต่าง ๆ มีแนวโน้มในการแข่งขันด้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศสูง หากไม่ได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ไม่สามารถชิงความได้เปรียบเหนือจังหวัดอื่น , ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ยังขาดการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทธศาสตร์ของตนเอง และการตั้งงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ยังเป็นแบบเดิม ขาดการบูรณาการกับยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง , แนวโน้มการแข็งตัวของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว , จังหวัดระยองไม่มีสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวจึงทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะนำความรู้มาพัฒนาการท่องเที่ยวภายในจังหวัด และการระดมทุนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีน้อย สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีดังนี้คือ ควรเน้นเอกลักษณ์ของอ่างเก็บน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพให้เห็นประโยชน์ของการชลประทาน ไม่มีมลภาวะ , ควรจัดขั้นตอนการพัฒนาตามความนิยมของตลาดท่องเที่ยว เช่น วางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้อง และสามารถตอบสนองต่อการทำงานและการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ กำหนดพื้นที่เพื่อพื้นที่ปฏิบัติงานออกจากพื้นที่ท่องเที่ยว มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เช่น การให้บริการต่าง ๆ อาทิ สถานที่พักแรม ร้านจำหน่ายสินค้า ร้านอาหาร ท่าเรือ ฯลฯ โดยจัดแยกให้เป็นสัดส่วนในบริเวณเดียวกัน ทั้งนี้ต้องกำหนดจุดทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลไว้ให้เหมาะสม , ควรพัฒนาด้านกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว และมาตรฐานการบริการ , ควรให้มีการบริหารและประชาสัมพันธ์โดยภาครัฐบาลและเอกชน โดยการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยอาจเป็นในรูปของการร่วมหุ้นหรือการให้สัมปทานระยะยาว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขและการควบคุมของภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กรมชลประทาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นงานหลัก , ควรมีแหล่งข้อมูลเรื่องอ่างเก็บน้ำกับกรมชลประทาน เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้เข้าชมและประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ของกรมชลประทานเอง , ควรจะเก็บน้ำในหน้าฝนให้เต็มอ่างเก็บน้ำก่อนที่ปล่อยสู่ภาคการเกษตร , ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนความตระหนักถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการส่งเสริมที่ดีในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม , ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบข้อมูลพื้นบานของอ่างเก็บน้ำ แหล่งท่องเที่ยวบริเวณรอบอ่าง และข้อมูลชุมชน หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความรู้ ความสามารถในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจังหวัดระยองมีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกในการมาท่องเที่ยวทะเล , ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ควรมีการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทศาสตร์ของจังหวัดในด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจังและยั่งยืน , ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง ควรมีการรวมตัวที่เข้มแข็งและได้มาตรฐานการบริการมากกว่านี้ โดยการนำการบริหารจัดการแบบชุมชนมีส่วนร่วมมาใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม , กรมชลประทานควรมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนรอบอ่างเก็บน้ำเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม , กรมชลประทานควรตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำของเอกชน เพื่อเป็นการป้องกันการถือครองสิทธิโดยมิชอบ , ควรมีการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์เพื่อมาบริหารจัดการการท่องเที่ยวบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ และควรปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านการก่อสร้างหรือขยายถนน การติดตั้งไฟฟ้าตามทางเดิน การจัดการระบบน้ำประปา และการติดตั้งตู้โทรศัพท์ภายในหมู่บ้าน เป็นต้น | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยว - - แง่เศรษฐกิจ | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยว | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - ระยอง | th_TH |
dc.subject | โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง | th_TH |
dc.title.alternative | Potentiality development of tourism the one tambon on product : case study the region around prasear stammer tambon Chumseang, amphur Wangchan, Rayong province | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2549 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น