กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6992
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorเกศินี สันจะโป๊ะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:27:09Z
dc.date.available2023-05-12T03:27:09Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6992
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาคุณภาพชีวิตของบุคลากร ทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน และหาแนวทาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ ครู และบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งกำหนดขนาดโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608) ได้จำนวน 73 คน จากนั้น ดำเนินดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกของ แบบสอบถามระหว่าง .25 ถึง .91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัญหาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการทำงาน รองลงมา คือ ด้านครอบครัว ด้านชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ด้านสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายด้านสุขภาพและความเครียด   2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์รายคู่ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ ได้แก่ ประสบการณ์ การทำงาน 1-5 ปี มีปัญหาคุณภาพชีวิตน้อยกว่าประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปี ส่วนคู่อื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี 3.1 ด้านการทำงาน ได้แก่ จัดกิจกรรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมในองค์กร จัดกิจกรรม 5 ส ในสถานที่ปฏิบัติงาน จัดระบบพี่เลี้ยงและสอนงานบุคลากรใหม่ 3.2 ด้านครอบครัว ได้แก่ เชิญครอบครัวของบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร เช่น กิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นต้น การจัดสรรเวลาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถเลิกงานตรงเวลาเพื่อได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น มอบรางวัลให้บุคลากรที่เป็นพ่อ/แม่ ดีเด่น 3.3 ด้านสุขภาพและความเครียด ได้แก่ ให้มีการตรวจร่างกายประจำปี จัดกิจกรรม ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ กำหนดวันออกกำลังกายในที่ทำงาน 3.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ให้สวัสดิการที่พักสำหรับบุคลากรที่อยู่ห่างไกล ให้สวัสดิการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ออกเยี่ยมบ้านบุคลากร 3.5 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ได้แก่ จัดกิจกรรมพักผ่อน/ท่องเที่ยวนอกสถานที่ จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในองค์กร ส่งเสริม และฝึกอาชีพเสริมให้แก่บุคลากร
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี -- การพัฒนาบุคลากร
dc.subjectครูสอนเด็กพิเศษ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
dc.title.alternativeProblems nd guidelines to develop the qulity of life for techers nd eductionl personnel in Specil Eduction of Region 12 in Chonburi under Specil Eduction Bureu
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study problems and present guidelines for the development of quality of life of teachers and personnel in Special Education of Region 12 in Chonburi under Special Education Bureau. The study classified sample based on gender, position and work experience. The sample in this study was 73 teachers and personnel in special education of region 12 in Chonburi under Special Education Bureau. The number of sample was identified as suggested in the table recommended by Krejcie and Morgan (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608). Stratified random sampling was used to identify samples based on their positions. Data collection instrument in this study was a five-point-rating-scale questionnaire. The questionnaire has its item discriminating power between .25-.91. The reliability of this questionnaire was .98. The statistical methods used in this study were Percentage, Average ( ), Standard Deviation (SD), t-test, F-test, One-way ANOVA and Scheffe's method of multiple comparison test. The research reached the following conclusions: 1. The problemregarding the quality of life of teachers and personnel in special education of region 12 in Chonburi under Special Education Bureau in general was at a moderate level. The top five problems which was reported included 1) work, 2) family, 3) living their everyday life, 4) environment and health and stress. 2. The comparison of quality of life of teachers and personnel in Special Education of Region 12 in Chonburi under Special Education Bureau as classified by gender and position showed no statistical significant difference both in general and each aspect.However, teachers and personnel who have different types of family showed statistical significant difference at .05 level. Furthermore, teachers and personnel having work experiencesbetween 1-5 years had less problem regarding the quality of life than those working over 5 years. 3. Guidelines for the development of quality of life of teachers and personnel in Special Education of Region 12 in Chonburi under Special Education Bureaucan be revealed as follow: 3.1 Working aspect: teachers and personnel should be trained the courses concerning team building, 5 disciplines of good habits for the effective work in an organization, mentoring and coaching. 3.2 Family aspect: the organization should invite family of teachers and personnel to attend some activities such as the new year party. Working period should be carefully advised so that teachers and personnel could have enough time to spend with their family after working hours. The activities such as reward giving to good parents should be arranged and promoted. 3.3 Health and stress aspect: These include providing a free annual check up, health education as well as supporting arranging some exercise activities at their workplace. 3.4 Environment aspect: providing a proper accommodation for teachers or personnel living a way from the organization as well offering help in fixing houses or visiting them. 3.5 Living everyday life: providing benefits suggesting some traveling programmes and relaxing activities, arranging some hobbies, and setting up co-op in an organization.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf840.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น