กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6972
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd guided development for cdemic ffirs ofprimry school under the Office of Trt Eductionl Service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
ศิลา จันรอด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การนิเทศการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
การบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ตามขอบข่าย งานวิชาการ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการนิเทศการศึกษา 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) จำนวน 291 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม มีค่าอยู่ระหว่าง .20-.74 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (ƒ) ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการนิเทศการศึกษา 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน 2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด พบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) ด้านการนิเทศการศึกษา ควรช่วยเหลือครู ในด้านเทคนิควิธีสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ควรมีการกำกับ ติดตาม ดูแลการวัดและการประเมินผลในโรงเรียน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6972
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น