กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/696
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย : กรณีศึกษาคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community participation in managing the impact of firefly tourism : case study of Khlong Amphawa, Samut Songkhram province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา กรเพชรปาณี
พูลพงศ์ สุขสว่าง
วัลย์ลดา วรกานตศิริ
สุภลักษณ์ สีใส
ธัชทฤต เทียมธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - สมุทรสงคราม
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน - - วิจัย
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - ผลกระทบจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - ไทย - - สมุทรสงคราม - - วิจัย
หิ่งห้อย - - ไทย - - สมุทรสงคราม
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยที่มีต่อชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยรวมถึงปัจจัยและเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะผู้วิจัยได้ศึกษาชุมชนที่ตั้งอยู่ในเส้นทางหลักของการล่องเรือชมหิ่งห้อยบริเวณริมคลองอัมพวาเชื่อมต่อคลองผีหลอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ชาวบ้าน ผู้รู้เกี่ยวกับบริบทชุมชน ผู้บริหารและครูในโรงเรียน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อย ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 11 เดือน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยเป็นไปตามวงจรการมีส่วนร่วมของ Cohen and Uphoff (1980) เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน การมีส่วนร่วมตัดสินใจ (Decision Making) โดยประชาชนได้ร้องเรียนให้ผู้นำท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหา มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาลำดับแรก คือ เสียงดังของเรือที่นำนักท่องเที่ยวมาชมหิ่งห้อย ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นได้เรียกประชุมประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบ (Implementation) ซึ่งชาวบ้านได้คิดวิธีการง่าย ๆ โดยนำไม้รวกไม้ไผ่มาปักลงในน้ำเป็นแนวล้อมบริเวณต้นลำพูที่เรือมาจอดดูหิ่งห้อยป้องกันไม่ให้เรือเข้ามาใกล้ริมตลิ่งมากเกินไป องค์การบริหารส่วนตำบลได้ทำทุ่นตามแนวริมคลองและรอบต้นลำพูช่วยลดแรงปะทะของคลื่นที่กระทบตลิ่งได้ระดับหนึ่งและลดการรบกวนหิ่งห้อยที่อาศัยบริเวณนั้น ผู้ให้บริการล่องเรือได้ร่วมมือกับเทศบาลตำบลอัมพวาในการปรับแต่งเครื่องยนต์เรือเพื่อลดระดับเสียงที่ดังรบกวนชาวบ้านและลดมลภาวะทางน้ำ กลุ่มผู้ให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อยไก้กำหนดมาตรการในกลุ่มเรือ โดยชี้แจงทำความเข้าใจกับคนขับเรือให้ขับเรืออย่างมีวินัย ไม่เข้าไปใกล้ต้นลำพูริมตลิ่งและให้ดับเครื่องยนต์เมื่อจอดชมหิ่งห้อย รวมถึงการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวในการชมหิ่งห้อยเชิงอนุรักษ์ ส่วนการรักษาสภาพแวดล้อมนั้น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มการจัดเก็บขยะและรณรงค์ให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวในการรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะในน้ำรวมถึงการขอความร่วมมือในการควบคุมน้ำเสียจากรีสอร์ทที่นับวันจะเพิ่มขึ้น ส่วนการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยในอนาคตนั้นมุ่งเน้นไปที่เด็กนักเรียนโดยโรงเรียนหลายแห่งมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหิ่งห้อย การรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลอง การอนุรักษ์ป่าชายเลน การส่งเสริมให้นักเรียนปลูกต้นลำพูซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของหิ่งห้อยดำเนินการร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมดำเนินการครั่งนี้ทำให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ (Benefits) ร่วมกัน คือมาตรการจำกัดเวลาล่องเรือชมหิ่งห้อยข่วยลดปัญหามลภาวะทางเสียงแก่ประชาชน ชาวบ้านบางรายได้มอบเงินบางส่วนเพื่อบำรุงรักษาต้นลำพู การให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนขับเรือของเจ้าของท่าเรือใำให้การขับเรือมีวินัยมากขึ้นดินริมตลิ่งพังน้อยลง นักท่องเที่ยวรู้วิธีการชมหิ่งห้อยที่ถูกวิธีส่งผลต่อการอนุรักษ์หิ่งห้อย ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสร้างความพึงพอใจให้ชาวบ้านและประหยัดงบประมาณในการทำทุ่นริมตลิ่ง การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและนำชุมชนมีการติดตามสอบถามผลการแก้ไขปัญหาด้วยมาตรการต่าง ๆอย่างต่อเนื่องด้วยวาจาและในการประชุม ส่วนปัจจัยสำคัญที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบ คือการได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำและมีต้นลำพูที่มีหิ่งห้อยจำนวนมากเป็นจุดที่เรือนำนักท่องเที่ยวมาจอดชมหิ่งห้อยเป็นประจำ และปัจจัยอีกส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลภาวะทางน้ำที่ส่งผลต่อหิ่งห้อยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ส่วนเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ อัตลักษณ์ฺของคนในชุมชน อันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพดั้งเดิม เช่น การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำสวนผลไม้ ที่ต้องใช้เวลาในการทำงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจนค่ำ ที่สามารถพึ่งพาตนเองและครอบครัวของตนเองำด้ในลักษณะเป็น "หน่วยการผลิตหน่วยหนึ่ง"
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_110.pdf3.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น