กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6966
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorอรอนงค์ นวลตาล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:27:03Z
dc.date.available2023-05-12T03:27:03Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6966
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2 ในด้านปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้าน ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ (Public relation) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยคือเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน ศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) ผู้วิจัยกำหนดหัวข้อคำถามที่ทำการศึกษาในลักษณะกว้าง ๆ ล่วงหน้าก่อน ทำการศึกษา เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์ และนำผลการสัมภาษณ์ที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนที่เป็นไปตามการตัดสินใจของ ผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relation) มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่ง บุตรหลานเข้าเรียนระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ทุกด้าน 2. ปัจจัยในด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด คือปัจจัยด้านด้านผลิตภัณฑ์ (Product) เนื่องจากผู้ปกครองส่วนมากเห็นว่า ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยของโรงเรียน บ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) จัดได้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครองที่อยากให้บุตรหลานมีพัฒนาการที่ดี อ่านออก เขียนได้ และการจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ตรงตาม หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปีพุทธศักราช 2546 ที่ได้กำหนดไว้ ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ (Public relation) และปัจจัยด้านราคา (Price) มีผลต่อการตัดสินใจเลือกให้ บุตรหลานเข้าเรียนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) รองลงมาตามลำดับ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้ปกครอง -- การตัดสินใจ
dc.subjectการศึกษาขั้นก่อนประถม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียน
dc.titleการตัดสินใจของผู้ปกครองในกากรส่งบุตรหลานเข้าเรียนระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
dc.title.alternativePrent’s decision mrking to send their childrend t the erly childhood eduction level in Bnkohpho (Wnkroo 2500) School under Chonburi Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to investigate the decision making of parents to send their children to come to study their early childhood education in Bankohpho (Wankroo 2500) school under Chonburi Primary Educational Service Area Office 2 about 4 factors: Product, Price, Place and Public relation. The target groups used in the study were chosen by purposive sampling method. They were thirteen parents of the students who were studying in the first year and the second year of kindergarten in academic year 2016. The research was conducted using structured interview technique. The researcher develop board and open-ended questions before starting the interview. The results of the interview were analyzed and synthesized to report guidelines for the development of school management according to the parent’s decision making to send their children to come to study the early childhood education in Bankohpho (Wankroo 2500) school under Chonburi Primary Educational Service Area Office 2. The result of the research found that 1. Product, Price, Place and Public relation had an influence in the parent’s decision making to send their children to study their early childhood education in Bankohpho (Wankroo 2500) school under Chonburi Primary Educational Service Area Office 2. 2. The product had an influence in the decision of parents the most because most parents thought that teaching and learning curriculum of Bankohpho (Wankroo 2500) school was in accordance with their needs that want their children to have a good development and be able to read and write. In addition, the teaching and learning management were consistent with the development of the children in 4 skills which were in accordance with the pre-school education curriculum in BE 2546. Place, Public relation and Price had an influence in the parent’s decision making to send their children to study their early childhood education in Bankohpho (Wankroo 2500) school.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น