กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6951
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุเมธ งามกนก | |
dc.contributor.author | วันวิสาข์ เจริญพร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:25:14Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:25:14Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6951 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานพัสดุจำแนกตามจำนวนคาบสอนต่อสัปดาห์ ประสบการณ์ในงานพัสดุ และขนาดโรงเรียน และหาแนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานพัสดุในโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบสำรวจรายการ (Check list) ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีอำนาจจำแนกรายข้อ .27-.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 และตอนที่ 3 แบบสอบถามแนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบเรียงความสำคัญจำเป็น 3 ลำดับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) การทดสอบขนาดความแตกต่าง (Effect size: ES) ความถี่ (f) และค่าร้อยละ (%) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการควบคุมพัสดุ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านการบำรุงรักษาพัสดุ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา จำแนกตามจำนวนคาบสอนต่อสัปดาห์ โดยรวม ด้านการจัดหาพัสดุและด้านการบำรุงรักษาพัสดุ แตกต่างระดับมาก ส่วนด้านการควบคุมพัสดุและด้านการจำหน่ายพัสดุ แตกต่างระดับปานกลาง จำแนกตามประสบการณ์ ในงานพัสดุ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลางโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่และระหว่างโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่โดยรวมและรายด้านแตกต่างระดับมาก 3. แนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา ด้านการจัดหาพัสดุ ควรจัดทำแผนการจัดทำคู่มือแบบฟอร์มการจัดซื้อจัดจ้างและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้โรงเรียนปฏิบัติงานเป็นแนวทางเดียวกัน ด้านการควบคุมพัสดุ ควรกำหนดขั้นตอนการเบิก-จ่ายที่ชัดเจน ด้านการบำรุงรักษา ควรตั้งงบประมาณในการซ่อมแซมพัสดุให้เพียงพอ และด้านการจำหน่าย ควรมีการจัดอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันเป็นประจำทุกปี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ | |
dc.subject | พัสดุ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.title | ปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 | |
dc.title.alternative | Problems nd guides solution of mteril supply dministrtion in Nikhompttn School Cluster under the Ryong Primry Eductionl Service Are Office 1 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research was aimed at studying, comparing and presenting guidelines for material supply administration in Nikhompattana School cluster under the Rayong Primary Education service Area Office 1 as classified by number of teaching period per week, experience in the parcel and school of size. The sample used in this study was 70 peoples in Nikhompattana School cluster that responsible for the procurement in 2017. The instrument used for data collection was a questionnaire. It consisted of 3 sections; the first section was a check list about general information. The second section was a five-point scale questions about problems of material supply administration in Nikhompattana School cluster was a five-point scale questions, The item discriminative power of this section was between .27 -.83 and the reliability was at .95. The third section was asking opinions about guidelines for solving problems concerning material supply administration in Nikhompattana School cluster under the Rayong Primary Education service Area Office 1. The statistics used to analyze the data was Mean ( ), Standard Deviation (SD), Effect size (ES), frequency and Percent (%). The research found that: 1. Problems concerning material supply administration in Nikhompattana School cluster as a whole and each aspect were in a medium level. They can be put in order from high to low average as follows: Control the package, Supply, Distribution, and Maintenance of the package. 2. The comparison of problems of material supply administration in Nikhompattana School clusteras a whole, classified by number of teaching period per week was different. When classified by experience of the operators, this study found no difference as a whole and each aspect. When classified by school size as a whole and each aspect, this study also found no difference. 3. The guidelines for solving problems concerning material supply administration in Nikhompattana School clusterconsisted of 1) Supply of the package should prepare a plan for the preparation of the manual, the procurement in the same direction. 2) Control of the package should be a clear withdrawal process. 3) Maintenance of the package should have budget for repair. 4) Distribution of the package should have seminars for staff every year. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น