กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6948
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorคุณวุฒิ คนฉลาด
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorปัทมนันท์ หิรัญธีรวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:13Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:13Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6948
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูง พัฒนารูปแบบ การบริหาร และตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออกโดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นครูผู้มีสมรรถนะสูง สังกัดโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก จํานวน 385 คน และระยะที่ 2 พัฒนา รูปแบบโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 12 ท่าน และระยะที่ 3 เพื่อตรวจสอบระดับการยอมรับ รูปแบบการบริหารครูผู้มีศักยภาพสูงในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก จากกลุ่มตัวอย่างครูจํานวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสํารวจ (ระยะที่ 1) และแบบตรวจสอบระดับการยอมรับ (ระยะที่ 3) ด้านรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงสังกัดโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (ระยะที่ 2) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าความถี่ (f) และการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาและการสังเคราะห์จากผู้วิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลําดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ด้านการประเมินศักยภาพ ด้านการอบรมและพัฒนา และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน การสรรหา การธํารงรักษา การวางแผน อัตรากําลัง การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ การวางแผนการสืบทอดตําแหน่ง และการคัดเลือกบุคลากร ตามลําดับ 2. ผลการพัฒนารูปแบบครูผู้มีสมรรถนะสูงสังกัดโรงเรียนเอกชน พบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มี แนวคิดว่า การบริหารค่าตอบแทน ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินมีความสําคัญต่อการรักษาผู้มีสมรรถนะสูง ลําดับต่อมาคือการธํารงรักษาบุคลากรการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างความสมดุลในชีวิต ตลอดจน ด้านการประเมินศักยภาพหรือพรสวรรค์ ความรับผิดชอบ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการมีมนุษย์ สัมพันธ์ตามลําดับ 3. ผลการตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 ของ โรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลําดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ การบริหารค่าตอบแทน รองลงมาคือการธํารงรักษาบุคลากร การประเมินศักยภาพ การวางแผนการสืบทอด ตําแหน่ง การอบรมและการพัฒนา การสรรหาบุคลากร การวางแผนอัตรากําลัง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการคัดเลือกตามลําดับ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการบริหารงานบุคคล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectสมรรถภาพในการทำงาน
dc.subjectครู -- การพัฒนาบุคลากร
dc.titleรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก
dc.title.alternativeThe mngement model of high competency techers in the 21st century for ctholic privte schools in estern region
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe proposes of this research were to study the characteristics of high competency teachers, to develop the management model, and to evaluate the level of acceptance of the modelof teachers in the 21st century for catholic private school in Eastern Thailand. This research was a mixed method research,divided into 3 phasesphase 1 was to study the characteristicsof high competency teachers in the 21st century from 385 teachers in catholic privates schools in the Eastern region. Phase 2 was to develop ahigh competency teachers managements modelby in-depth interview with 12 experts. Phases 3 was to evaluate level of the acceptance of high competency teachers model for private schools from 317 teachers. Research instruments consisted of questionnaires for phases one and three. As for phase two, the instruments were 5 rating scale questionnaire and semi-structured interview in order to develop the model. The statistical devices in this research consisted of percentage, mean ( X ), standard deviation (SD) and frequency (f). The findings were as follows: 1. The results of characteristics ofhigh competency teachers managements in the 21st century were rated at a high level ranking from potential evaluation, training and development, evaluation of the performance, recruitment, retention, manpower planning, compensation management, succession planning, and selection, respectively. 2. The results of thedevelopment of high competency teachers management model for private schools were found from the experts opinions that the model consisted of following aspects; compensation managementboth monetary and non-monetary, employee retention in terms of organizational culture and balance in life, competency evaluation, responsibility, adaptation to change and human relations, respectively. 3. The results of evaluation of the level of the acceptance of high competency teachers management model were found that compensation management, employee retention, talent competency evaluation, successor planning, training and development, recruitment, staff management, performance evaluation, and selection.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น