กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6946
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of socil studies instructionl model by pplying community-bsed lerning pproch nd constructivism to enhnce nlyticl thinking nd communiction bilities for mttyomsuks three students of Locl Government Orgniztion School |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชิต สุรัตน์เรืองชัย จันทร์พร พรหมมาศ อุเทน วางหา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา) ความสามารถในการสื่อสาร ทฤษฎีสรรคนิยม ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระบบการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์ แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิจัยดำเนินการเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 3 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 4 การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และระยะที่ 5 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล วัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าว 15 ชั่วโมง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา พบว่า (1) นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6946 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น