กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6944
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of nursing professionl ptitude test
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ด้วงแพง
ไพรัตน์ วงษ์นาม
สารนิติ บุญประสพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การพยาบาล -- แบบทดสอบ
วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล 2) สร้างแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล 3) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบความถนัด ทางวิชาชีพพยาบาล และ 4) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน สำหรับประเมินความสำคัญขององค์ประกอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล นักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 1,355 คน สำหรับหาคุณภาพของแบบทดสอบ และนิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา 40 คน สุ่มแบบง่าย สำหรับการศึกษากลุ่มรู้ชัด การวิเคราะห์ผลการวิจัยครั้งนี้ คือ การวิเคราะห์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบพหุมิติแบบ Bi-factor วิธีพหุลักษณะ- พหุวิธี และเทคนิคกลุ่มรู้ชัด ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล ประกอบด้วย ความถนัด 7 มิติ คือ มิติตัวเลข ภาษา เหตุผล การสังเกต ความจำ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และความอดทน มีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 67 ข้อ มิติละ 15, 5, 8, 5, 10, 9 และ 15 ข้อ ตามลำดับ 2. แบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล มีค่าพารามิเตอร์ข้อสอบรายข้อแบบพหุมิติ ได้แก่ อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 1.04 ถึง 3.58 ค่ าความยากแบบพหุมิติอยู่ระหว่าง -1.68 ถึง -0.26 มีความตรงตามโครงสร้างพหุมิติ 2 องค์ประกอบ เมื่อเทียบกับโมเดลเอกมิติ มีความแตกต่างของค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 5421.64, = 102, p  .01) และค่า AIC 80678.59  85892.22, ค่า BIC 82132.43  86861.45 มีความตรงแบบลู่เข้า โดยพบว่า ค่าไค-สแควร์ ระหว่างโมเดล CTCM กับโมเดล NTCM แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ( = 108.821, = 2) ความตรงเชิงจำแนกค่าไค-สแควร์ระหว่างโมเดล CTCM กับโมเดล PCTCM และโมเดล CTCM กับโมเดล CTUM แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ( = 92.597, = 1 และ = 128.162, = 2 ตามลำดับ) และความตรงเชิงจำแนก เมื่อเปรียบเทียบเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (t48.96 = 6.88 , p = .000) ความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 จำแนกตามมิติ มีค่า 0.84, 0.70, 0.83, 0.81, 0.90, 0.88 และ 0.92 ตามลำดับ 3. เกณฑ์ปกติระดับชาติ ของแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เกณฑ์ปกติของความสามารถ ( ) คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ และคะแนนทีปกติ มิติตัวเลข P0.30–P94.00 (T28–T66) มิติภาษา P0.80–P76.60 (T21–T59) มิติเหตุผล P0.40–P82.10 (T39–T79) มิติการสังเกต P1–P76.60 (T32–T59) มิติความจำ P0.10–P70.60 (T14–T57) มิติการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น P1.40–P85.50 (T24–T61) และมิติความอดทน P0.30–P89.30 (T24–T62) ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แบบทดสอบ ที่เหมาะสมสำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6944
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น