กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6939
ชื่อเรื่อง: การบูรณาการการปรึกษากลุ่มแบบพลวัตทางจิตกับการสร้างสัมพันธภาพต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psychodynmic- interpersonl group counseling of pproprite sexul behviors of Upper Secondry School Mle Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
อภิเชษฐ จันทนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ
นักเรียน -- การให้คำปรึกษา
จิตบำบัดแบบไดนามิกสำหรับวัยรุ่น
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาผลของการบูรณาการการปรึกษากลุ่มแบบพลวัตทางจิตกับการสร้างสัมพันธภาพต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 70 คน เพื่อเก็บข้อมูลวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) เพื่อสร้างแบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รายะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการบูรณาการการปรึกษากลุ่มแบบพลวัตทางจิตกับการสร้างสัมพันธภาพต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองทาง (Two factor one between and one within subject design) พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของนิวแมน-คูลส์ (Newman-Keuls method) ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับบูรณาการการปรึกษากลุ่มแบบพลวัตทางจิตกับการสร้างสัมพันธภาพต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระยะทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่ในระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการบูรณาการการปรึกษากลุ่มแบบพลวัตทางจิตกับการสร้างสัมพันธภาพต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6939
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf42.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น