กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6936
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ | |
dc.contributor.advisor | เพ็ญนภา กุลนภาดล | |
dc.contributor.author | เกรียงศักดิ์ รัฐกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:25:09Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:25:09Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6936 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญ เรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย ดําเนินการศึกษาเป็น 2ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยัน ของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 436คน ทําการสุ่มอย่างง่าย โดยมีครูประจําชั้นแต่ละโรงเรียนเป็นผู้คัดกรอง ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีคะแนนเฉลี่ยภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในระดับ ปานกลาง จํานวน 20คน สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่ม ตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า ดําเนินการปรึกษากลุ่มจํานวน 10ครั้ง ๆ ละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 10วันติดต่อกัน ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลัง ภยันตราย มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยสูตรสัมประสิทธ์อัลฟูา เท่ากับ 0.79และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎี การเผชิญเรื่องเล่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 4องค์ประกอบ ได้แก่ การมีประสบการณ์ซ้ําการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความคิดและอารมณ์ไปด้านลบ และอาการตื่นตัว ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก โมเดลหลังจากปรับแก้แบบจําลอง มีดัชนีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 χ = 195.95, df= 131, p-value = 0.00021, Chi-square/ df= 1.495, SRMR = 0.031, RMSEA = 0.034, CFI = 0.994, GFI = 0.957, AGFI = 0.931, CN = 385.936) 2. ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย ของเยาวชน ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า 2.1 เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า มีค่าเฉลี่ยภาวะผิดปกติทางจิตใจ ภายหลังภยันตรายในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ต่ํากว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า มีภาวะผิดปกติทางจิตใจ ภายหลังภยันตราย ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลต่ํากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า โปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าสามารถลดภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลัง ภยันตราย ของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างชัดเจน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา | |
dc.subject | จิตผิดปกติ | |
dc.subject | เยาวชน -- สุขภาพจิต -- ไทย (ภาคใต้) | |
dc.subject | การบำบัดทางจิต -- ไทย (ภาคใต้) | |
dc.title | การปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
dc.title.alternative | The nrrtive exposure group counseling to posttrumtic stress disorder of youth effected by civil unrest in Southern Border provinces | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the factors of posttraumatic stress disorder (PTSD) of youth affected by a civil unrest in southern border provinces, and to study the effect of the narrative exposure group counselingonPTSD. The research was conducted in two phases. The first phase was a confirmatory factor analysis. The sample was 436 high school students acquired by simple random sampling and were screened by each school teacher. The second phase was a study of the effect of narrative exposure group counseling onPTSD. The sample consisted of 20 high school students who had moderate PTSD. They were randomly assigned to the experimental group and control group. The experimental group participated in the narrative exposure group counseling 10 sessions of 50 minutes each for 10 consecutive days. The control group was supervised according to the normal course of the school. The research instruments were; 1) the PTSD Checklist for DSM-5 scale with the coefficient reliability at 0.79, its construct validity and was confirmed through factor analysis and 2) the narrative exposure group counseling program onPTSD developed by the researcher. The statistics used were confirmatory factor analysis and analysis of variance with repeated measures. The research results were as follows: 1. The PTSD of the youth affected by a civil unrest in southern border provinces consist of 4 factors they were Intrusion, Avoidance, Negative alterations in cognitions and mood, and Alterations in arousal and reactivity. The structural relationship of these four factors is consistent with the empiricaldata. The adjusted model was valid and well fitted to empirical data ( 2 χ = 195.95, df= 131,p-value = .00021, Chi-square/ df= 1.495, SRMR = 0.031, RMSEA = 0.034, CFI = 0.994, GFI = 0.957, AGFI = 0.931, and CN = 385,936.) 2. The results of the narrative exposure group counseling to PTSD of youth affected by a civil unrest in southern border provinces were that; 2.1 The experimental group had PTSD mean scores in post-test and follow-up lower than pre-test statistically significant at .05 level. 2.2 The experimental group had PTSD mean scores in post-test and follow-up lower than the control group statistically significant at .05 level. It has shown that the narrative exposure group counseling program can clearly reduce symptoms of PTSD of youth affected by a civil unrest in the southern border provinces. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | |
dc.degree.name | ปร.ด. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น