กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6935
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ | |
dc.contributor.advisor | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง | |
dc.contributor.author | อนุภูมิ คำยัง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:25:09Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:25:09Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6935 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อค้นหาจำนวนตัวบ่งชี้ และหน้าที่ ของแต่ละองค์ประกอบของความฉลาดทางวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของตัวบ่งชี้ภายในโมเดลการวัดความฉลาดทางวัฒนธรรม ของนักศึกษาต่างชาติ 3) เพื่อทดสอบโมเดลการวัด ความฉลาดทางวัฒนธรรม จากลักษณะโมเดลการวัดเชิงสะท้อน โมเดลการวัดเชิงก่อรูป โมเดลผสมผสานแบบหลายสาเหตุหลายผล หรือมีลักษณะอื่น ๆ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอคติ เชิงชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัว ของนักศึกษาต่างชาติ 5) เพื่อศึกษาบทบาท ของความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และความฉลาดทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการปรับตัว ของนักศึกษาต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักศึกษาต่างชาติ จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดประกอบไปด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา 2) แบบวัดตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรม อคติเชิงชาติพันธุ์ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลด้วย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกต่างชาติประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวัดความฉลาดทางวัฒนธรรมสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ 3) โมเดลที่รวมโครงสร้างเป็นตัวแปรสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านอภิปัญญา และด้านปัญญาเป็นโมเดลก่อรูป ส่งผลต่อตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรม แล้วส่งผลต่อตัวแปรเชิงสะท้อน ประกอบไปด้วยตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจ และด้านพฤติกรรม 4) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางวัฒนธรรมตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และความฉลาดทางวัฒนธรรมได้รับอิทธิพลทางตรงจากอคติเชิงชาติพันธุ์ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางวัฒนธรรมได้ร้อยละ 17 และความสามารถในการปรับตัวได้รับอิทธิพลทางตรงจากความฉลาดทางวัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากอคติเชิงชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมและอคติเชิงชาติพันธุ์ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการปรับตัวได้ร้อยละ 82.10 5) ความสามารถในการปรับตัวที่ได้รับอิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรความสามารถใน การเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปร ความฉลาดทางวัฒนธรรมกับตัวแปรความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคมีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และอิทธิพลของตัวแปรอคติเชิงชาติพันธุ์ และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ส่งผลต่อความฉลาดทางวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางวัฒนธรรมได้ร้อยละ 40.70 และอิทธิพลของตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากอคติเชิงชาติพันธุ์และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการปรับตัวได้ร้อยละ 84.00 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความฉลาดทางวัฒนธรรม | |
dc.subject | ความตระหนักทางวัฒนธรรม | |
dc.subject | นักศึกษาต่างชาติ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | วัฒนธรรม | |
dc.title | ความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ : กระบวนการสร้างมโนทัศน์พื้นฐานการวัดและการตรวจสอบความเที่ยงตรง | |
dc.title.alternative | Culturl intelligence of foreign students: conceptuliztion, mesurement nd vlidtion | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were; 1) to find the indicators and role of elements of cultural intelligence, 2) to assess the quality of the indicators of the cultural intelligence model, 3) to validate the validity of the cultural intelligence model by an application of reflective and formative and other measurement model. 4) to study the influence of the ethnocentrism on cultural Intelligence and the influence of cultural intelligence on self-adjustment ability of the foreign students, and 5) to study the roles of adversity quotient and cultural Intelligence on self-adjustment ability of the foreign students. The participants were 341 foreign students. The instruments used for data collection were four sets of check list questionnaire 1) Cultural Intelligence Questionnaire 2) Ethnocentrism Questionnaire 3) Self-adjustment Ability Questionnaire and 4) adversity quotient Questionnaire. The data analysis were done by analyzing the primary data, validating the model by Structural Equation Modeling. The research results were; 1) The cultural intelligence of foreign students is comprised of 4 elements and 11 indicators. 2) The measurement model of cultural Intelligence according to the hypothesis had a good fit with the empirical data. 3) The Constructed causal model fit well with the empirical data the cullural intelligence factorson metacognition and cognition become transformative model that influence the Motivation and Behavioral. 4) Ethnocentrism had a direct effect on cultural Intelligence with statistical significant at the .001 level. Ethnocentrism could explain the variance of cultural Intelligence as much as 17.00 percent. Cultural intelligence had a direct effect on self-adjustment ability of foreign students with statistical significant at the .001 level. Ethnocentrism had a indirect effect to self-adjustment ability of foreign students with statistical significant at the .001 level. Ethnocentrism and cultural intelligence could explain the variance of self-adjustment ability as much as 82.10 percent. 5) adversity quotient had a direct effect on self-adjustment ability with no statistical significant., the interactions between a cultural intelligence and adversity quotient had a direct effect on self-adjustment ability with no statistical significant., Ethnocentrism and adversity quotient had a direct effect to cultural Intelligence with statistical significant at .001 level. Ethnocentrism and adversity quotient could explain the variance of cultural Intelligence as much as 40.70 percent. Cultural intelligence had a direct effect on self-adjustment ability of foreign students with statistical significant at the .001 level. Ethnocentrism and adversity quotient had a indirect effect on self-adjustment ability of foreign students with statistical significant at the .001 level. Ethnocentrism and adversity quotient and cultural intelligence could explain the variance of self-adjustment ability as much as 84.00 percent. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปร.ด. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น