กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6931
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.authorชวัลวิทย์ จินดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6931
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อกำหนดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ เป็นนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดสระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำนวน 620 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกนักเรียน จำนวน 30 คน แบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทดลองใช้กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล เป็นแบบวัดทักษะชีวิต จำนวน 60 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานใช้โปรแกรมสำรูปทางสถิติขั้นสูง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายพบว่า ค่าไค-กำลังสอง ( 2 ) เท่ากับ 21.60, ระดับความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .6587, ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00 และค่าดัชนีอื่น ๆ เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดหนด แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้กระบวนการของการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม ซึ่งได้กิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม คือ1) กิจกรรมวงดนตรี ธรรมชาติ 2) กิจกรรมข้ามเส้น 3) กิจกรรมคว้าจุดหมาย 4) กิจกรรม What do you do 5) การวิ่งเปี้ยวอารมณ์ 6) กิจกรรมไม่โกรธไม่กลัว 7) กิจกรรมสื่อสารเจ้าปัญหาและ 8) กิจกรรมปิดตาหาของ 3. ผลการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ละองค์ประกอบ มีจุดเด่น ดังต่อไปนี้ 1) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น นักเรียนมความสุขสนุกสนานในการดำเนินกิจกรรม 2) การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์นักเรียนมีความสุข สนุกกับการได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดการอารมณ์และความเครียด นักเรียนสามารถแสดงอารมณ์และจัดการอารมณ์ของตนเองในกิจกรรมได้รวมทั้งสามารถเข้าใจอารมณ์และการแสดงอารมณ์ของผู้อื่นได้ถูกต้อง 4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักเรียนเห็นคุณค่าของการสื่อสารว่าสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักเรียนเห็นคุณค่าของการสื่อสารว่าสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การสื่อสารที่ดีก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะทำให้งานสำเร็จ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.subjectวิจัย
dc.subjectทักษะชีวิต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectวิจัยปฏิบัติการ
dc.titleการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternativeHolisticlly integrtive reserch for life skill development of high school students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis mixed method research aimed to 1) analyze confirmatory factors of life skills of high school students and investigate the perfect fit with the empirical data, 2) identify life-skill development activities for those students through holistically integrative research, and 3) study the outcomes of the life-skill development activities. Participants of this study were divided into two groups. The first group, designated for quantitative study, were 620 high-school students of The Secondary Educational Service Area 4, Saraburi Province. Instrument for this group was researcher-developed questionnaire. The second group was for qualitative study and the trial group, consisted of 30 students who werepurposively determined under the designated condition. The 60-item life skill assessment wasused to collect data from this group. For data analysis, the statistic package program was used for analyzing basic statistics, while advanced statistic program was used for Confirmatory Factor Analysis. The content analysis was used to analyzed qualitative data. Results were; 1. The second order CFA of high-school students’ life skill was congruent with the empirical data ( 2 = 21.60, p = .6587, RMSEA = .00, and other factors met the set-criteria). 2. The life-skill development of high school student through the holistically integrative research included eight activities, they were; 1) Natural Music, 2) Crossing the Lines, 3) Reaching the Target, 4) What Do You do, 5) Emotional Flag Race, 6) No Anger, No Fear, 7) Problematic Communication, and 8) Finding Things with Closed Eyes. 3. The prominence of each life-skill development activity were 1) realization and actualization of self and others; students were happy and had fun, 2) creative decision making and problem solving; students were happy, had fun for being developed, for analyzing, making decision, and solving problem creatively, 3) emotion and stress management; students can show and manage their emotion in the activity including understand others’ emotion and feelings, and 4) making good relationship with others; students value the communication as it can make good relationship with others and good communication makes collaboration within the group.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น