กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6913
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
dc.contributor.advisorพรรณทิพา ตันตินัย
dc.contributor.authorภาคภูมิ เพ็ชรในบ่อ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:02Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:02Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6913
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการสอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการสอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/ 9 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน พนัสพิทยาคาร ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดวามสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถ ในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ ฉบับหลังเรียน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test for dependent และการทดสอบ t-test for one samples ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการสอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS สูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการสอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS สูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนคณิศาสตร์
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการสอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
dc.title.alternativeLerning ctivities mngement using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS to promote Mthemticl problem Polving nd written communiction bilities of Mthyomsuks III students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to compare the mathematical problem solving abilities of mathayomsuksa 3 students before and after learning with cognitively guided instruction (CGI) with SSCS and to compare the mathematical problem solving abilities of the mathayomsuksa 3 students after learning activities management using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS 2) to compare the written communication abilities of mathayomsuksa 3 students before and after learning with activities management using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS, and to compare the written communication abilities of the students after learning activities management using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS with the set 70% criterion The sample were mathayomsuksa 3 students of the second semester in academic year B.E. 2559 at Phanatpittyakarn school, who were selected by cluster random sampling method. The research instrument used in this research consisted of; 1) number theory lesson plans, 2) mathematical problem solving and written communication abilities pre-test (with reliability of .84), and 3) mathematical problem solving and written communication abilities post-test (with reliability of .86) the data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent sample and t-test for one sample The findings were as follows; 1. The mathematical problem solving abilities of mathayomsuksa 3 students after learning activities management using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS was significantly higher than before learning and was higher than criterion of 70% at the .05 level. 2. The written communication abilities of mathayomsuksa 3 students after learning activities management using cognitively guided instruction (CGI) with SSCS was significantly higher than before learning and was higher than the criterion of 70% at the .05 level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนคณิศาสตร์
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น