กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6901
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีพร อนุศาสนนันท์ | |
dc.contributor.advisor | ไพรัตน์ วงษ์นาม | |
dc.contributor.author | สุพรพรรณ ฉันทวิเศษกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:25:01Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:25:01Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6901 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมกรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกจำนวน 5 ดาน คือ ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านวิจัยในชั้นเรียน และด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือในด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) และ 3) เพื่อหาคะแนนจุดตัดและคู่มือการใช้เครื่องมือวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูวิทยาสาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 400 คน นำมาทดลองใช้เพื่อตรวจสอบความเป็นปรนัยทางภาษา จำนวน 10 คน จากนั้น นำมาทดลองใช้ครั้งที่ 2 จำนวน 90 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ ด้านความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) และใช้จริงครั้งที่ 3 เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) หาคะแนนจุดตัดและสร้างคู่มือการใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ลักษณะเครื่องมือเป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ได้แก่ ฉบับที่ 1 ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 2 ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 3 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 4 ด้านวิจัยในชั้นเรียน และแบบวัดที่เป็นมาตรวัด 5 ระดับ คือ ฉบับที่ 5 ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า 1.แบบวัดทั้ง 5 ฉบับมีค่าความตรงตามเนื้อหาตั้งแต่ .60-1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ใช้สูตรของ Brennan มีค่าระหว่าง .21-.65 ส่วนแบบวัดฉบับที่ 5 หาค่าอำนาจจำแนกโดยการทดสอบค่าที พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด ทั้ง 5 ฉบับมีค่า t ตั้งแต่ 1.763 ถึง 1.927 ส่วนค่าความเที่ยง ของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ใช้สูตรของ Livingston มีค่า .891-.953 แบบวัดฉบับที่ 5 ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่า .941 2.คะแนนจุดตัดของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 หาโดยวิธีของ Angoff มีค่าเท่ากับ 17,18,23, และ 17 ตามลำดับ ดังนี้ 2.1 แบบวัดฉบับที่ 1 ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้สอบที่ได้คะแนน 17 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 87.05 2.2 แบบวัดฉบับที่ 2 ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ผู้สอบที่ได้คะแนน 18 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89 2.3 แบบวัดฉบับที่ 3 ด้านทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผู้สอบที่ได้คะแนน 23 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่านมีจำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยลั 91.00 2.4 แบบวัดฉบับที่ 4 ด้านวิจัยในชั้นเรียน ผู้สอบที่ได้คะแนน 17 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 84.17 3.สมรรถภาพด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับสูง ระดับสูง ( X̅ = 4.35,SD = .65) ความเพียรพยายาม ( X̅ = 4.16,SD = .63) ดานความมีระเบียบและคิดแบบละเอียดรอบคอบ ( X̅ = 4.12,SD = .67) ด้านความมีเหตุผล ( X̅ = 3.88,SD = .74) ความใจกว้าง ( X̅ = 3.87,SD = .66) และความซื่อสัตย์ ( X̅ = 3.84,SD = .77) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ครูวิทยาศาสตร์ | |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | สมรรถภาพในการทำงาน | |
dc.title | การสร้างเครื่องมือวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก | |
dc.title.alternative | The construction of Prtomsuks 6 Science techer compretency in the Est Are of Office of the Bsic Eduction | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were; 1) to develop Pratomsuksa 6 Science Teacher Competency Measurement Tool for teachers under the Office of the Basic Education in the eastern region covering 5 dimensions, namely; Knowledge on Science Subject’s Content, 5Es, Science Process Skills, Classroom Action Research, and Scientific Attitudes, 2) to assess the quality of the tool on Content Validity, Construct Validity, Difficulty, Discrimination, Reliability, and 3) to identify the cut-off score and Instruction Manual of the developed measurement tool. The sample group of this research consisted of400 Pratomsuksa 6 science teachers selected by using Multi-stage random sampling. Ten of them were employed for checking language objectivity. Ninety of them were employed for find quality of the tool on item difficulty, discrimination, and reliability. The implementation phase was conducted to find the quality of the tool on construct validity, difficulty, discrimination, reliability, and cut-off score and validating instruction manual. The tool used in this research was Pratomsuksa 6 Science Teacher Competency Measurement a four multiple chose items. They composed of5 test batteries. The first consisted of 30 items on knowledge of science subject’s; the2nd test was consisted of30 item on 5Es, the 3rd test was consisted of 40 items on science process skills; the4th test was classroom action research; and the 5th test was on science attitude consisted of 30 items. The results were that: 1. The content validity of 5 tests was ranged from .60 to 1.00 and the difficulty from ….. Discrimination of the 1st ,2nd ,3rd ,and 4th test was obtained by using Brennan’s formula ranged from .21 -. 65. Discrimination of the5th test obtained by using t-test revealed that there was statistical difference at .01 for all items. Construct Validity obtained by using known-group technique of 5 tests was consisted of t value ranged from 1.763 to 1.927. Content Validity of the 1st, 2nd. 3rd. and4th test obtained by using Livingston’s formula ranged from .891-.953. Content Validity of the 5th test wan obtained by using Cronbach’s alpha coefficient with the value of .941 2. Cut-off score of the 1st, 2nd , 3th, and4th test obtained by using Angoff’s method was 17,18,19, and 17, as the following details; For the 1st test on knowledge on science subject’s content, there were 245 test participants who passed the cutting point of 17, accounted for 87.02%. For the 2nd test on 5Es, there were 236 test participant who gained 18 points over that was considered as passed. For the 3rd test on science process skills, there were 253 test participants who gained 23 points and over that was considered as passed, accounted for 91%. For the 4th test on classroom action research, there were 234 test participants who gained 17 points and over that was considered as passed, accounted for 84.17%. 3. The overall competency on scientific allitudes was at high level (X̅ =4.04, SD=.69) Ranging from: curiosity (X̅ =4.35, SD= .65) effort (X̅ =4.16, SD= .63) orderliness and cautious thinking (X̅ =4.12, SD=.67) rationality (X̅ =3.88, SD=.74) generosity (X̅ =3.87, SD=.66) and honesty (X̅ =3.84, SD=. 77), respectively. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น