กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6900
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคันนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A discriminnt nlysis of dropout fctors undergrdute students in Burph University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ โทปุรินทร์โร
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สิริกุล รัตนมณี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การออกกลางคัน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- นักศึกษา
การออกกลางคันในสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลาง 2) วิเคราะห์ปัจจัย การออกกลางคันที่ใช้จำแนกสภาพนิสิต และ 3) หาแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคัน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 258 คน แบ่งเป็นสภาพรอพินิจ จำนวน 151 คน และออกกลางคัน จำนวน 107 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคัน และแบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ไขปัญหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกปัจจัย และการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันระดับมากที่สุด ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว รองลงมา คือ การกำหนดเป้าหมายในการเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน ความยากและซับซ้อนของหลักสูตร และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1) การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนิสิตที่เหมาะสม 2) การสอนเสริมปรับพื้นฐาน 3) ใช้ระบบพี่เลี้ยง 4) การสร้าง แรงบันดาลใจ 5) การเสวนาที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และนิสิต 6) การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ที่ปรึกษา 7) การให้ทุน 8) ให้งานพิเศษเพิ่มรายได้ 9) สำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้ และ 10) จัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม 2. ตัวแปรจำแนกสภาพนิสิต ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม สมการจำแนกสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.63 มีสมการในคะแนนมาตรฐาน คือ ZY = .645 Zภูมิหลังครอบครัว + .605 Zการบูรณาการทางวิชาการและสังคม 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคันที่ควรดำเนินการและเป็นแนวทางที่กระทบ ต่อแนวทางอื่น ๆ มากที่สุด คือ การสอนเสริมปรับพื้น ซึ่งกระทบกับแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การสำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้ 2) การจัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม และ 3) การใช้ระบบ พี่เลี้ยง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วทม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6900
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น