กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/686
ชื่อเรื่อง: | การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศหาดทราย ชายฝั่งทะเลบางแสน จังหวัดชลบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณา ภาณุตระกูล เผชิญโชค จินตเศรณี วิภูษิต มัณฑะจิตร นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี สมถวิล จริตควร วันศุกร์ เสนานาญ คเชนทร เฉลิมวัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล - - หาดบางแสน (ชลบุรี) การอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ ทรัพยากรทะเล สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ระบบนิเวศชายหาดบางแสน-วอนนภา เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญกับเศราฐกิจ (แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเก้บเกี่ยวสัตว์หน้าดิน) แต่เรายังมีความรู้ทางนิเวศของระบบนิเวศนี้ค่อนข้างน้อย และสภาพแวดล้อมของหาดบางแสนมีแนวดน้มว่าจะเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ (มีการเกิดสภาวะการเพิ่มแพลงก์ตอนจำนวนมากอยู่บ่อยครั้ง) จนถึงขั้นวิกฤตสำหรับสิ่งมีชีวิตบนหาดทราย การจัดการสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกของความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ การศึกษาในครั้งนี้จึงเริ่มจัดสร้างฐานข้อมูลสภาพทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของระบบนิเวศชายหาดบางแสน โดยคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาดัชนีทางกายภาพ เคมี และชีวภาพที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของชายหาดได้ในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้ได้รวบรวมตัวอย่างทราย น้ำ และสัตว์หน้าดิน ตลอดชายหาด (5 แนวตั้งฉากกับชายหาด และ 6 เขต ของชายหาด ตั้งแต่เขตเหนือบริเวณน้ำซึม จนถึงบริเวณที่ห่างจากเขตน้ำซึม 95 เมตร) และเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความลาดชันของชายหาดทุก ๆ เดือน เป็นเวลา 12 เดือนตั้งแต่ กรกฎาคม 2548 ถึง มิถุนายน 2549 เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในรอบปีของความลาดชันของชายหาด ขนาดอนุภาคตะกอน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ปริมาณธาตุอาหารในน้ำ %Ignition loss ค่า pH ค่า Redox potential ของตะกอน จำนวนชนิดของสัตว์หน้าดิน ความชุกชุมของสัตว์หน้าดิน โครงสร้างประชากรของหอยเสียบ (Donax faba) ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดที่เด่นที่สุดของหาดบางแสน และ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับความชุกชุมของสัตว์หน้าดิน ชายหาดบางแสนมีความลาดชันของค่อนข้าต่ำ บริเวณด้านบนของหาดเขตเหนือแนวน้ำซึมตะกอนจะมีขนาดหยาบกว่าเขตอื่น ๆ (Median grain size มีค่าระหว่าง 0.40-1.00 mm) ตะกอนบนหาดมีขนาดลดลงในทิศออกสู่ทะเล โดยเขตที่ 5 หรือประมาณ 95 เมตร จากแนวน้ำซึม (Median grain size มีค่าระหว่าง 0.100-0.150 mm) บริเวณแนวน้ำซึมเป็นแนวที่พบค่าความเค็มของน้ำต่ำกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการซึมของน้ำจืดจากแผ่นดินลงสู่ชายฝั่ง น้ำจากแผ่นดินนี้มีปริมาณธาตุอาหารปริมาณน้อย ได้แก แอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนไตรท์และฟอสเฟต สุงกว่าน้ำทะล น้ำจากแผ่นดินจึงเป็นแหล่งของธาตุอาหารปริมาณน้อยที่เติมเข้าสู่ชายหาด และระดับความเข้มข้นของแมโมเนีย มีค่าค่อนข้างสูงซึ่งอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดินได้ บริเวณเขตที่ 3, 4 และ 5 โดยเฉพาะในแนว 2,3 และ 4 ซึ่งเป็นบริเวณที่ไนไตรท์ ไนเตรท และซิลิเกต มีค่าสูงซึ่งเกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของสารอินทรีย์ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และค่า Redox potential ของตะกอน ก็บ่งชี้ในทิศทางเดียวกัน ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีกิจกรรมการย่อยสลายสารอินทรีย์มากโดยจุลินทรีย์และเกิดสภาวะกึ่งไร้ออกซิเจน และไร้ออกซิเจนขึ้น การสำรวจพบชนิดสัตว์หน้าดินทั้งสิ้น 35 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย หอยสองฝา (17 ชนิด) หอยฝาเดียว (4 ชนิด) กุ้งปู (4 ชนิด) และหนอนทะเล (10 ชนิด) แต่มีสัตว์กลุ่มใหญ่เพียงสองกลุ่มเท่านั้นที่เป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างชุมชนสัตว์หน้าดินชายหาดบางแสน คือ กลุ่มหอยสองฝา ซึ่งมีหอยเสียบ D. faba และ หอยขาว Pillucina vietnamica; เป็นชนิดเด่นโดยมีสัดส่วนร้อยละ 55 และ 30 ของ สัตว์หน้าดินทั้งหมด และกลุ่มที่สองได้แก่ หอยฝาเดียว ซึ่งมีหอยทับทิม Umbonium vestiarum เป็นชนิดเด่นโดยมีสัดส่วนร้อยละ 10 ของสัตว์หน้าดินทั้งหมด ฤดูกาล แนวการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย มีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายพันธุ์ โดยฤดูกาลเป็นแหล่งของความแปรปรวนมากที่สุด จำนวนชนิดสัตว์หน้าดินของหาดบางแสนอยู่ช่วงระหว่าง 6-23 ชนิดโดย มีจำนวนชนิดสูงสุดในเดือนมกราคม 2549 ในรอบปี แนวทางศึกษาที่พบจำนวนชนิดสูงสุด คือแนวที่ 4 ผวงเวียนหาดบางแสน) โดยพบ 27 ชนิด และเขตน้ำซึม และต่ำกว่าเขตน้ำซึม จะมีพบจำนวนชนิดสุงกว่าเขตเหนือเขตน้ำซึม โดยจะพบจำนวนชนิดมากที่สุด (21-28 ชนิด) ที่เขต 4 เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม (5 และ 6) เป็นเดือนที่พบดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด และมีความสม่ำเสมอมากที่สุด เมื่อพิจารณาแนวเก็บตัวอย่าง แนวที่ 4 และ 1 เป็นแนวที่มีความหลากหลายของสุตวืทะเลหน้าดินสุงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างเขต พบว่า เขตน้ำซึมมีค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด หอยเสียบ (donax faba) เป็นสัตว์หน้าดิน ชนิดที่เด่นที่สุดของชายหาดบางแสน พบมากในเขตเหนือเขตน้ำซึม และเขตน้ำซึม (ทรายหยาบ) ซึ่งบริเวณนี้มีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่า Redox potential ของตะกอนสูงกว่าบริเวณอื่น ส่วนหอยขาว P. vietnamica และหอยทับทิม U. vestriarum พบในเขตที่ทรายละเอียด วึ่งมีปริมาณสารอินทรีย์สูง โดยมีความชุกชุมเฉลี่ยของหอยทั้งสองชนิด และค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่า Redox potential ของตะกอนต่ำ หอยขาว P. vietnamica เป็นหอยอาศัยอยู่ร่วมกับ sulphide oxidizing bacteria ที่ผลิตไฟด์ได้ โดยทั่วไปมักพบหอยขาวในบริเวณที่เป็นหาดโคลน ดังนั้นการปรากฎของหอยขาวบนหาดบางแสนน่าจะเป็นดัชนีที่บ่งชี้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดตะกอนที่ละเอียดขึ้น และมีปัจจัยทางเคมีที่เื้อต่อการดำรงชีพของหอยขาวมากขึ้น หรือเกิดสภาวะกึ่งไร้ออกวิเจน และไร้ออกซิเจนมากขึ้น หอยเสียบมีความหนาแน่นเฉลี่ยในเขตที่ชุกชุมตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา 60-250 ตัว/0.25 ตารางเมตร และมีความชุกชุมต่ำที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2548 (ค่าเฉลี่ยทุกเขตเก็บตัวอย่าง = 8 ตัว/0.25 ตารางเมตร) และมีความชุกชุมสูงที่สุดในเดือน มีนาคม 2549 (ค่าเฉลี่ยทุกเขตเก็บตัวอย่าง = 113 ตัว/0.25 ตารางเมตร) มีประชากรรุ่นใหม่ (recruitment) 2 ครั้งคือช่วงกันยายน-ตุลาคม 2548 และ มกราคม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ เมื่อประเมินอัตราการเจริญเติบโตของแต่ละรุ่นหอย โดย von Bertalanffy growth function (VBGF) พบว่าค่าความยาวเต็มที่ (L) ของ D. faba เท่า 24.25 มิลลิเมตร และค่า K=1.20 ซึ่งสะท้อนอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว หอยขาว P. vietnamica มีความชุกชุมมากในเขตต่ำกว่าเขตน้ำซึม 40 เมตร-95 เมตร (เขต 3-5) โดยมีความชุกชุมเฉลี่ย 35-60 ตัว/0.25 ตารางเมตร และหอยทับทิม U.vestiarum มีความชุกชุมสูงสุดในเขตที่ 5 โดยมีความชุกชุมเฉลี่ย 20 ตัว /0.25 ตารางเมตร การเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพ เคมี และชีวภาพบนหาดทรายบางแสนจากอดีต ถึงปัจจุบันอาจเป็นไปในทิศทางที่เสื่อมโทรมลง เนื่องจากความหลากหลายของชนิดลดลงอย่างมากอย่างมาก และสัตว์ที่พบชนิดเด่น ๆ เป็นสัตว์ที่มีความทนทานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง P. vietnamica ที่โดยปกติจะพบในหาดโคลน โดยสรุปดัชนีที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป สำหรับกาาติดตามคุณภาพหาดบางแสนโดยชุมชน ได้แก่ ขนาดอนุภาคทราย (ดัชนีกายภาพ) ปริมาณออกวิเจนที่ละลายในน้ำ และค่า Redox potential ของดินตะกอน (ดัชนีเคมี) จำนวนชนิด ชนิดสัตว์ที่บ่งชี้สภาวะที่เสื่อมโทรม ซึ่งได้แก่ หอยขาว (P.vietnamica) (ดัชนีชีวภาพ) และความชุกชุม และขนาดของหอยเสียบ d. faba (ดัชนีระดับประชากร) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/686 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น