กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6857
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนวิน ทองแพง | |
dc.contributor.advisor | สุเมธ งามกนก | |
dc.contributor.author | นันทพล สุขสำราญ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:21:44Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:21:44Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6857 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและสภาพที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี จากการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ การบริหารคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิกด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก ระยะที่ 4 การตรวจสอบความเหมาะสมและการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ ด้วยการวิจัยกึ่งทดลอง และระยะที่ 5 การสรุปและรับรองรูปแบบการบริหารคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แก่ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการ แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกภาคสนาม แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก และการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการบริหารจัดการและสภาพที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี จากการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อัตลักษณ์การศึกษาเด่น เป็นโรงเรียนมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก มุ่งสัมฤทธิ์ผลแบบองค์รวม” โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านผู้บริหาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศการประกาศข่าวดี ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านชุมชนการศึกษา ความตระหนักรู้ในหน้าที่ของครูที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี จากการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก ด้านความรับผิดชอบ ด้านการมีจิตอาสา ด้านการให้อภัย และด้านการรู้รักษ์ธรรมชาติ มีดังนี้ โครงการครูเพื่อนร่วมทางชีวิตกับผู้เรียนโดยฝ่ายสำนักบริหารร่วมกับฝ่ายธุรการการเงิน โครงการประสานความร่วมมือโดยฝ่ายบริหารหลักสูตรและงานวิชาการร่วมกับฝ่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน โครงการดาราตาวิเศษ (รณรงค์รักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม) โดยฝ่ายบริการและกิจการนักเรียน กิจกรรมอาสาพัฒนา โดยฝ่ายอภิบาลและแพร่ธรรม การอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยฝ่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน กิจกรรมคุณธรรมนำชีวิต โดยฝ่ายอภิบาลและแพร่ธรรมร่วมกับฝ่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียนและกิจกรรม ชุมชน คนดีดาราสมุทร (สมุดบันทึกความดี) โดยฝ่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียนร่วมกับฝ่ายอภิบาลและแพร่ธรรม 3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก ด้านความรับผิดชอบ ด้านการมีจิตอาสา ด้านการให้อภัย และด้านการรู้รักษ์ธรรมชาติ มีตัวชี้วัดความสำเร็จของทุกโครงการรวม 25 ตัวชี้วัด การดำเนินงานบรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จ 21 ตัวชี้วัด การดำเนินงานได้ผลเท่ากับตัวชี้วัดความสำเร็จ 1 ตัวชี้วัด และการดำเนินงานได้ผลต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดตามตัวชี้วัดความสำเร็จ 3 ตัวชี้วัด ครูที่ได้ เข้าร่วมโครงการครูเพื่อนร่วมทางชีวิตได้รับการพัฒนาความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเองสู่ การเป็นเพื่อนร่วมทางชีวิตกับผู้เรียนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เข้าร่วมกลุ่มทดลองการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ ด้านการมีจิตอาสา ด้านการให้อภัย และด้านการรู้รักษ์ธรรมชาติ ไปในทางที่ดีกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิก | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การควบคุมคุณภาพ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | โรงเรียนเอกชน -- การบริหาร | |
dc.subject | การศึกษาเอกชน -- มาตรฐาน | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาคาทอลิกด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา | |
dc.title.alternative | The development of n dministrtive model for students qulities in ctholic stndrd by prticiptory ction Reserch :bcse study of Drsmutr School | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the management styles and generality of Catholic schools under the Diocese of Chanthaburi, 2) to develop a quality management model for learners that align to standard of Catholic education in basic education, 3) to study the effect of the use of the management model on the quality of learners according to the educational standards of Catholic primary education. This study was divided into 5 phases. Phase 1 analyzing and synthesizing information. Phase 2 creating a quality management model for learners in accordance with Catholic Education Standards through participatory action research. Phase 3 developing a Quality Management Model for Learners Based on Catholic Education Standards. Phase 4 examining the suitability and performance of the model with quasi-experimental research and Phase 5 conclusion and endorsement of quality management models for learners in accordance with Catholic Education Standards. There were 45 participants comprised of administrators, teachers, students, and parents. The instrument used in the research were the questionnaire on the management model, a participatory note recording, field recording, quality assessment model for learners according to Catholic education standards, Data analysis included both qualitative and quantitative data analysis by descriptive statistics, mean and standard deviation. Qualitative analysis with content analysis The research findings were: 1. Management style and Conditions in Catholic Schools under the Diocese of Chanthaburi by the educational standards of Catholic education with the vision of “Outstanding educational identity of a Catholic school of Catholic Education” was at the highest level, ranking from highest to lowest, as follows; administrators, management and the learning environment and the atmosphere of evangelized, were at and the lowest ranking was the education for community. For an awareness of teachers' duties in Catholic schools under the Diocese of Chanthaburi. According to the educational standards of Catholic education. The overall level was at high level. 2. Quality management model for learners according to Catholic education standards, comprised 4 aspects; Responsibility, volunteer spirit, forgiveness, and the nature of knowledge in the project. There were many projects such as; teacher of life with students by the Department of Administration and the Department of Finance, the project coordinated by the curriculum management and academic work with the Department of moral ethics. The magic star project (Clean and Environmental Campaign) by Student Services and Activities. Volunteer activities developed by pastoral and apostolic ministry. Ethics and moral education by the Department of moral ethics. Moral activities lead the life of the pastoral and apostolic ministry in collaboration with the ethics and moral education department, and the Good Samaritan Sea Life Club. (Book of Good Deeds) by the Department of moral ethics with the pastoral and apostolic department. 3. The effect of administrative model on quality of learners on Catholic education standards. concerning the responsibility domain, the volunteer spirit domain, the forgiveness domain and the nature of caring domain were specified with 25 successful key point, 21 of the key points achieve the goal. one successful key point equal to being successful. Three successful key points were lower than expectation. Teachers who have participated in the project “The teacher’s role considered as the life partner of the students” had developed their own self-awareness to be lifelong companions higher than before participation. The Matthayom 4 students participating in the group using the quality administrative model of learners according to the Catholic Education Standards have changed their behavior in term of the responsibility domain, the volunteer spirit domain, the forgiveness domain and the nature of caring domain better than before participating in the administration model to qualify learners according to Catholic education standards. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | ปร.ด. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น