กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6856
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The deverlopment indictors of risk mngement of systems for office of Bsic Eduction Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธร สุนทรายุทธ
พงศ์เทพ จิระโร
อมรศักดิ์ กองสิงห์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารความเสี่ยง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหารความเสี่ยง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ ทดสอบความสอดคล้องของโมเดล การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาสภาพและแนวทางการบริหาร ความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งขั้นตอนวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสร้างกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ด้วยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Content analysis) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้ด้วยเทคนิควิจัย EDFR (Ethnographic delphi futures research) โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดสอบ ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 400 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า 5 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการ 5 ตัวบ่งชี้ ด้านผลผลิต 2 ตัวบ่งชี้ ด้านผลกระทบ 2 ตัวบ่งชี้ และ ด้านสิ่งแวดล้อม 2 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง มีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า Chi-Square = 126.05, df = 37, Chi-Square/ df = 3.406, p < .05, GFI = 0.96, AGFI = 0.86, RMSEA = 0.078, SRMR = 0.031, CFI = 1.00 3. สภาพและแนวทางการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสภาพการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แนวทางการบริหารใช้กลยุทธ์ ได้แก่ การยอมรับความเสี่ยง (Take) การลด/ ควบคุมความเสี่ยง (Treat) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate) และการกระจาย/ โอนความเสี่ยง (Transfer)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6856
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น