กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6834
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorธนิกานต์ สุขวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.available2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6834
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.-.มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรครู ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรกับสมรรถนะหลักของบุคลากรครู ปัจจัยมีผลต่อ สมรรถนะหลักของบุคลากรครู และสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่ศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยด้านจิตลักษณะ และสมรรถนะหลักของบุคลากรครู ลักษณะข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เมื่อตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือ พบว่า ด้านปัจจัยด้านจิตลักษณะและด้านสมรรถนะหลักของบุคลากรครู คำนวณค่าอำนาจจำแนก ได้ระหว่าง .40-.80 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .92 และ .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ละการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครู กับสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 มีค่าความสัมพันธ์ทางบวก ระดับมากที่สุด = .927*(rxy = .927) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 4. ปัจจัยด้าน การจูงใจเพื่อควบคุมตนเอง (X5) ทัศนคติต่อการประกอบวิชาชีพครู (X4) และการได้รับ การพัฒนาความรู้ (X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ สมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ได้ร้อยละ 86.8 (R2 = .868, F = .211, p < .05) สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ = 2.205 + .456(การจูงใจเพื่อควบคุมตนเอง) + .395(ทัศนคติต่อการประกอบวิชาชีพครู) + .116(การได้รับการพัฒนาความรู้) สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .270(การจูงใจเพื่อควบคุมตนเอง) + .381(ทัศนคติต่อการประกอบวิชาชีพครู) + .100 (การได้รับการพัฒนาความรู้)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครูประถมศึกษา -- การทำงาน
dc.subjectสมรรถนะ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฎิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternativeFctors ffecting of techer core competency of Thi techer cluster united Chonburi Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis descriptive study was conducted to identify the level of teacher core competency and to examine association and predicting factors, and create equation of prediction of teacher core competency of teacher cluster unit at Chonburi Primary Education Service Area Office 1. The sample was 297 teachers of the Chonburi Primary Educational Service Area Office 1. A self-administered questionnaire of 2 parts of questions was used to collect the data. Part 1 was on demographic data while Part 2 study factors including psychological, and teacher core competency. The questionnaire items were in 5 rating scale form. Content validity was performed and discriminative power between .58-.88 and Cronbach’s coefficient alphas of .92 and .91 were obtained for reliability. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and Multiple Regression Analysis. The study results were as follows: 1. Teacher core competency of teacher cluster unit at Chonburi Primary Education Service Area Office 1, as a whole and component were at the high level. 2. Factors affecting core competencies of teacher had significant positive relationships with teacher core competency (r = .927, p < 0.05 respectively) Factors affecting core competencies of teacher cluster unit at Chonburi Primary Education Service Area Office 1, as a whole and component were at the high level. 3. Motivation for self-control, attitude towards profession teacher, and getting development of knowledge explained 86.8 % of competencies of teacher cluster unit at Chonburi Primary Education Service Area Office 1 (R2 = .868, F = .211, p < .05). 4. The predictive scores and standard scores equation of core competencies of teacher were as follows: = 2.205 + .456(Motivation for self-control) + .395(Attitude towards profession teacher) + .116(getting development of knowledge) = .270(Motivation for self-control) + .381(Attitude towards profession teacher) + .100(getting development of knowledge)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น