กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6817
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorฐิติ เรืองฤทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:25Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:25Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6817
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มัธยมศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 284 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามระดับการศึกษาแล้วทำการสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .42-.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปรที่ทดสอบทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ ของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สถานศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการมีแบบแผนความคิด และด้านการรอบรู้แห่งตน ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สถานศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามเพศ และจำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและ รายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและ รายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการคิดเชิงระบบ และด้านการมี แบบแผนความคิด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectการเรียนรู้
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม
dc.titleความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
dc.title.alternativeLerning orgniztion of secondry schools in Chnthburi province under secondry eductionl service re office 17
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study learning organization of secondary schools in Chanthaburi province under Secondary Educational Service Area Office 17 categorized by gender, education and working experiences. The samples defined by using Krejcie and Morgan’s table were 285 teachers. (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610). The samples were selected by using simple random sampling method categorized by education. The research instrument was a five-rating-scale questionnaire which its item discrimination power ranged from .42-.78. The reliability of the questionnaire was .95. Statistics used to analyze data were mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test and one-way ANOVA. In case there was a statistical difference of the tested variables, Scheffe’s method was used to compare the differences between each pair. The research findings were as follows: 1. Learning Organization of secondary schools in Chanthaburi province under Secondary Educational Service Area Office 17 in general and all aspects was at a high level. 2. The results of data analysis in studying Learning Organization of secondary schools in Chanthaburi province under Secondary Educational Service Area Office 17 categorized by gender and education in general and all aspects should no statistically significant difference. 3. The results of data analysis in studying learning organization of secondary schools in Chanthaburi province under Secondary Educational Service Area Office 17 categorized by working experiences in general and all aspects were found different with statistically significance at .05 level. This extended Systems Thinking and Mental Models.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น