กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6814
ชื่อเรื่อง: | ความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคารจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organizational commitment of teachers and personnel of Phanatpittayakarn School under the secondary education service area office 18 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล วราทิพย์ เอี่ยนเหล็ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครู -- ความพอใจในการทำงาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ครู ความผูกพันต่อองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากร โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน ภูมิลำเนา และสถานภาพการเป็นศิษย์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling)ตามกลุ่มการปฏิบัติงาน โดยใช้ตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .21-.82 มีค่าความเชื่อมั่น .92 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความผูกพันต่อองค์การครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายาม เพื่อปฏิบัติงานในองค์การ และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์การ 2. การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา และสถานภาพการเป็นศิษย์ พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคนที่มีประสบการณ์การทำงาน มากกว่ามีความเชื่อมั่นสูงกว่า 3. แนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ เรียงตามอันดับความถี่มากไปน้อย 5 อันดับ คือ ผู้บริหารควรให้คำแนะนำ และคำปรึกษากับครูและบุคลากร ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศภายในองค์การ ผู้บริหารควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับครูและบุคลากร และระหว่างเพื่อนร่วมงานกับ เพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารควรมีการดูแล เอาใจใส่ครูและบุคลากรภายในโรงเรียน และผู้บริหารควรจัดกิจกรรม ให้ครูและบุคลากรภายในโรงเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6814 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น