กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6812
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorพรพรรณ บุญมี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:24Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:24Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6812
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ และหาแนวทางการเสริมสร้างบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มาจากกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามระดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ระดับค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .21-.75 ค่าความเชื่อมั่น .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การในโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความภักดีต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีบรรยากาศองค์การของโรงเรียนดีกว่าโรงเรียนขนาดกลาง จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการเสริมสร้างบรรยากาศองค์การในโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ด้านโครงสร้างองค์การ โรงเรียนควรมีกฎระเบียบที่ชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงาน ด้านความท้าทายและความรับผิดชอบ ผู้บริหารควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครูและบุคลากรไว้อย่างชัดเจน ด้านความอบอุ่นและการสนับสนุน เมื่อเกิดปัญหาในการทำงานผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกคนควรให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ด้านการให้รางวัลและการลงโทษ ผู้บริหารควรมีความยุติธรรมในการให้รางวัลตอบแทนจากการปฏิบัติงาน ด้านความขัดแย้ง ครูควรยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการปฏิบัติงานร่วมกัน ด้านมาตรฐานของผลการปฏิบัติงานและความคาดหวัง โรงเรียนควรมีการติดตามเพื่อปรับปรุงงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ด้านความภักดีต่อองค์การ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานผู้บริหารควรให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่ครูและบุคลากร ด้านความเสี่ยงภัย โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรรับผิดชอบงานใหม่เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectบรรยากาศองค์การ
dc.subjectโรงเรียน -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternativeOrgniztion climte of school in shwittyket chonburi 3 under chonburi primry eductionl service office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research was to study, compare and find the way to reinforce an organization climate of schools in Sahawittayaket Chonburi 3 under Chonburi primary educational service office 1, according to gender, school size and working experience. The samples size used in this research was determined by a table of Krejcie & Morgan (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609). The sample consisted of 146 people, selected by stratified random sampling stratified by grade. The research instrument was a rating scale-questionnaire. It’s discriminating power was in the range of .21 to .75 and reliability was at .93. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, independent t-test, and One-way ANOVA. The results were summarized as follows: 1. The organization climate of school in Sahawittayaket Chonburi 3 under Chonburi primary educational service office 1, was at high level. 2. The organization climate of the schools according to the difference of gender was not different statistically significant. The organization climate according to the school size was different statistically significant at .05 level. The loyalty of organization, however, was not different. A large school have a better climate organization than a medium school. The working experience was not different statistically significant in the organization climate. 3. The way to reinforce an organization climate of school in the schools concerning school organization structures was that school should have an obviously rule for work. Concerning challenge and responsibility was that the administrators should obviously specify teachers and staff’s responsibility. Concerning factor of warmness and support when a problem occurs, it was that administrators, teachers and staffs should cooperate. Concerning rewarding and punishment, it was that administrators should be fair in rewarding performance. Concerning conflict, it was that teachers should accept different opinions in collaborative work. Concerning standard performance and school expectations, it was that there should be the follow to improve more efficiency performance. Concerning organization loyalty, when an error occurs, it was that the administrators should give advice to teachers and staff. Concerning the risk, it was that school should provide opportunities for teachers and staff to take on new responsibilities for the development of school personnel.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น