กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6793
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกันเกรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting students’ chievement of wtnongknkro school under the primry eduction service ryong re office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
ปรีชา อ้อยรักษา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา -- การวัดผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดหนองกันเกรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 168 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยมีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .21-.74 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยครูผู้สอน ปัจจัยครอบครัว และปัจจัยตัวนักเรียน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 แต่ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. จากสมการพยากรณ์ พบว่า ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (X6) ด้านการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง (X1) และด้านเจตคติต่อการเรียน (X3) โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกันเกรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2 ได้ ร้อยละ 16.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ Y = 2.83 + .127 (X6) + .106 (X1) + .084 (X3)
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6793
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf570.06 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น