กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/676
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/676
dc.description.abstractการประเมินผลการดำเนินโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการจังหวัดชลบุรี และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินการ และวิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินโครงการที่ยั่งยืน และวร้าง/ขยาย เครือข่ายการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการและชุมชนพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการขยายผลในระยะต่อไป การวิเคราะห์โครงการโดย SWOT analysis พบว่าปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง คือ โครงการได้รับการยอมรับเป็นนโยบายของจังหวัดชลบุรี ผู้บริหารระดับจังหวัดเห็นความสำคัญและให้ความสนใจหน่วยงาน/องค์กรท้องถิ่น และภาคประชาสังคม เห็นประโยชน์ของโครงการนี้ ซึ่งกิจกรรมของโครงการนี้สามารถดำเนินการได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นแหล่งทุนที่มั่นคง สามารถให้ความสนับสนุนต่อเนื่องและมีศักยภาพทางสังคมที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายในระดับชาติได้ ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนคือ เป้าหมายโครงการยังเป็นจำนวนครั้งของการจัดประชุม/เวที จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ยังไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งผลผลิตด้านจำนวนสถานประกอบการ/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และผลลัพธ์ที่ทำให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังไม่สามารถวางแผนการทำงานระยะยาวได้ จำเป็นที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งของทีมและพัฒนาระบบบริหารจัดการปัจจัยที่เป็นภาวะคุกคามคือการขยายตัวอย่างมากของภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม แรงงานและประชากรแฝงมากขึ้น พื้นที่/หน่วยงานไม่สามารถรองรับด้านการชีวิตความเป้นอยู่และสาธารณูปโภค ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นชาวต่างชาติ สนใจเพียงผลประกอบการทางธุรกิจ ผู้ที่มาจากต่างถิ่นมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ขาดความรักท้องถิ่น ปัญหาชุมชมเมืองมีหลายด้านและมีความซับซ้อน แก้ไขยาก ต้องบูรณการและใช้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ปัจจัยที่เป้นโอกาสคือนโยบายด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เพิ่มกว้างขึ้นในหลายด้านทั้งคุณภาพการผลิต สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรฐานด้านแรงงาน กฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงานท้องถิ่นมีความพร้อมด้านงบประมาณ สามารถสนับสนุนกิจกรรม และสร้างความร่วมมือในชุมชนได้ มีเครือข่ายอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นกลไกขับเคลื่อน และประสานการทำงานในสถานประกอบการและชุมชนในพื้นที่ พร้อมกับมีโครงการ/กิจกรรมอื่นที่สามารถนำบูรณาการร่วมกันซึ่งเสริมให้โครงการนี้ดำเนินงานไปได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยการให้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ มีผู้ที่เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์มาก 55.8% และมากที่สุด 42.5% โดย 94.2% คิดว่าสถานประกอบ/หน่วยงานควรเข้าร่วมดครงการนี้ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการ คือเจ้าของ/กรรมการผู้จัดการ 80.8% ฝ่ายบุคคล 28.8% หัวหน้าฝ่าย/แผนก 26.9% ผู้ที่สามารถดำเนินการโครงการ ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนคือเจ้าของ/กรรมการผู้จัดการ 28.7% ฝ่ายบุคคล 63.5% หัวหน้าฝ่าย/แผนก 55.8% พนักงาน 40.4% กิจกรรมที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการด้าน Happy Body (สุขภาพดี) มี 95.2% Happy Heart (น้ำใจงาม) มี 95.2% Happy Society (สังคมดี) มี 51.1% Happy Relax (ทางผ่อนคลาย) มี 42.9% Happy Brain (หาความรู้) มี 61.9% Happy Soul (ทางสงบ) มี 47.6% Happy Money (ปลอดหนี้) 52.4% และ Happy Family (ครอบครัวดี) มี 14.3% ข้อเสนอแนะโครงการควรมีการประชาสัมพันธ์หรือเชิญชวนให้สถานประกอบการ/หน่วยงาน เข้าร่วมโครงการนี้ ประชุมชี้แจงระดับเจ้าของ/ผู้บริหาร โดยแจ้งว่าเป็นนโยบายของจังหวัด แจ้งข่าวสารให้สถานที่ประกอบการทุกแห่งเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง โดยชมรมผู้บริหารงานบุคคลมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม ควรผลักดันให้เกิดเครือข่าย และเสริมในบางแห่งที่นังไม่เข้มแข็งพอ จัดอบรมและมีกิจกรรมในสถานประกอบการให้บ่อยขึ้นเพื่อเข้าถึงพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดทำป้ายการเข้าร่วมโครงการทำให้สามารถรู้ถึงจำนวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และเป็นการประชาสัมพันธ์ด้วย ควรทำงานเชิงบูรณาการกับหน่วยงานอื่นที่มีบทบาทดูแลสถานประกอบการ เช่น สวีสดิการและคุ้มครองแรงงาน อุตสาหกรรมจังหวัด สาธารณสุข และอื่นๆ พร้อมกับเชื่อมโยงโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมกิจกรรมทั้งแปดด้าน เช่น โครงการทางด้านศาสนา โครงการออมทรัพย์ โครงการบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเวทีความร่วมมือกับชุมชน ได้รับความสนใจและทุกฝ่ายเห็นด้วยโดยเจ้าภาพหลักในพื้นที่ ได้แก่ เทศบสลแหลมฉบัง เครือข่ายประธานชุมชน สมาคมชุมชนชาวแหลมฉบัง ชมรมท้องถิ่น อบต.ดอนหัวฬ่อ ที่มีความเข้มแข็ง โดยต้องมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ที่ชัดเจ ตั้งแต่เริ่มให้แนวความคิด สร้างการมีส่วนร่วม จนถึงการวางโครงการ โดยให้ชุมชนเป็นแกนหลัก แล้วสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล ให้ความรู้วิธีการและเทคนิค เพื่อจัดทำโครงการ แนะนำบทบาทหน่วยงาน/องค์กร ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดทำกิจกรรม happy 8 ในชุมชนเป็นโครงการนำร่องตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นความร่วมมือจากสถานประกอบการ และชุมชน โรงเรียน วัด หน่วยงาน องค์กรเอกชน ให้เกิดเครือข่ายในพื้นที่ พร้อมกับเชื่อมโยงโครงการอื่น เช่น โครงการชุมชนเป็นสุข หรือเครือข่ายนักพัฒนาซึ่งทำงานในพื้นที่ ใช้สื่อในพื้นที่เช่นวิทยุชุมชน ให้มีการพูดคุยผ่านสื่อให้เข้าถึงประชาชนในชุมชนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัยth_TH
dc.subjectสถานประกอบการ - - บริการส่งเสริมสุขภาพ - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.subjectโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี - - การประเมินth_TH
dc.titleประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี ปี 2549th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น