กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6766
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ | |
dc.contributor.author | นฤมล เชิดงาม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:20:13Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:20:13Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6766 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ตามตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970,pp. 607-610) ได้จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .61-.90 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านเทคนิควิธี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 3. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านเทคนิควิธี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความคิดรวบยอด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยรวม และด้านมนุษยสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเทคนิควิธี และด้านความคิดรวบยอด แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา | |
dc.subject | ผู้บริหารสถานศึกษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.title | ทักษะในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูในอำเภอพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 | |
dc.title.alternative | Administrtive skills of school dministrtors s perceived by schooltechers in phnom srkhm distrct under the chchoengso primry eductionl service re office 2 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to investigate and to compare administrative skills of school administrators as perceived by school teachers under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2, as classified by work experience, educational qualifications, and types of school. Based on Krejcie and Morgan's Sample Size Table (1970, pp. 607-610), the sample of the study, derived by means of stratified random sampling, consisted of 214 school teachers. A 5-level rating scale questionnaire with the discriminating power between .61-.90 and with the reliability at .98 was used as an instrument for data collection. Mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Scheffe’s paring comparison method were statistical devices employed for the data analysis. The findings revealed as follows: 1. The administrative skills of school administrators as perceived by school teachers under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2, both as a whole and in each particular aspect, were found at a high level. 2. The administrative skills of school administrators as perceived by school teachers under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2, classified by work experience, both as a whole and in each particular aspect, were found statistically significant different at the level of .05, except in the aspect of Technical Skills, in which non-significant difference was found. 3. The administrative skills of school administrators as perceived by school teachers under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2, classified by educational qualifications, both as a whole and in each particular aspect, namely Technical Skills, Human Skills, and Conceptual Skills were found statistically significant different at the level of .05. 4. The administrative skills of school administrators as perceived by school teachers under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2, classified by types of school, as a whole, and in the aspect of Human Skills, were found statistically significant different at the level of .05. However, in the aspects of Technical Skills and Conceptual Skills, non-significant differences were found. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น