กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6752
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of trining courses to increse the competency on the emotionl intelligence of the students coopertive eduction the university of the thi chmber of commerce |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล ปริญญา ทองสอน นีรนาท จุลเนียม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความฉลาดทางอารมณ์ -- การฝึกอบรม -- หลักสูตร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์นักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินการวิจัยใช้ลักษณะการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) การพัฒนาหลักสูตรอาศัยแนวคิดของ (Tyler) มี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 2 การออกแบบ และการพัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นที่ 4 การประเมินคุณภาพหลักสูตรด้วย CIPP Model กลุ่มตัวอย่างในการทดลองคือ นักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่า 140 คะแนน จำนวน 30 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง (The one-group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) แบบประเมินเจตคติของผู้ประกอบการที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพเหมาะสำหรับเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มีองค์ประกอบสมรรถนะ 3 ด้าน คือ 1) การเข้าใจตนเอง 2) การเข้าใจผู้อื่น และ 3) การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีความเหมาะสมของหลักสูตร เท่ากับ 4.69 และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร เท่ากับ 0.98 2. ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรม หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร ภายหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 4. เจตคติของผู้ประกอบการที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.50 5. การประเมินหลักสูตรด้วย CIPP Model มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.22 แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมนี้ มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้จัดฝึกอบรมได้ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6752 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น