กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6745
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.authorลักษมี สายบุตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:05Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:05Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6745
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสำรวจในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง) ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis) และใช้เทคนิค Modified priority needs index (PNIModified) ในการจัดลำดับความสำคัญ สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ และความเป็นไปได้ในการเกิดผลกระทบของเหตุการณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ค่าอัตราส่วนแต้มต่อและดัชนีบ่งชี้ผลกระทบ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ด้านทักษะการสอนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ในการปฏิบัติงาน และด้านคุณลักษณะของบุคคล 2. โมเดลลิสเรลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ =25.45, ค่าองศาอิสระ =48, P=0.99693, GFI= 0.96, AGFI = 0.92 และ RMR = 0.090 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 38 ผลการวิเคราะห์ ลิสเรล พบว่า ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญ คือ ตัวแปรความรู้ในการปฏิบัติงาน 3. ผลการวิเคราะห์ลิสเรล โมเดลแนวทางการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ พบว่า มีค่าไค-สแควร์ =32.43, ค่าองศาอิสระ =31, P=0.39630, GFI= 0.97, AGFI = 0.95 และ RMR = 0.026 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของแนวทางการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 21 แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญ คือ การศึกษาดูงาน รองลงมา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางวิชาการ และผลการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้พบว่า การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองกระทบไปถึงวิธีการอื่น ๆ ได้มากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิจัย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectวิจัย -- การประเมิน
dc.titleการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์
dc.title.alternativeA complete needs ssessment for developing competency of mthemticl techers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study 1) the needs of mathematic teachers in competency development;2) factors affecting the needs of mathematic teachers in competency development; .and 3) the appropriate solutions to mathematic teachers’ needs in competency development. The researcher used survey and cross-impact analysis method to collect data. The sample were224 secondary teachers in Chonburi-Rayong Province. The research instrument was questionnaire. Data were analyzed by frequencies, mean, standard deviation, LISREL analysis and need prioritization using modified Priority Need Index(PNIModified). The cross-impact was performed with qualified mathematic teachers. Data were analyzed by calculating odds ratio and impact index. The research findings were as follows: 1. The most important needs of mathematic teachers in competency development were teaching skills, knowledge of teaching practices, and desired characteristics, respectively. 2. The causal model was valid and fitted with empirical data as indicated by Chi-square goodness of fit with 25.45, df = 48, P = 0.99693, GFI = 0.96, AGFI = 0.92, and RMR = 0.090. The model accounted for 38 percent of variance in mathematic teachers’ competency development. Regard to LISREL analysis, the factor causing teachers’ needs was knowledge on teaching. 3. The analysis of appropriate solutions to the needs of mathematic teachers in competency development by Chi-square goodness of fit with 32.43, df= 31, P = 0.39630, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, and RMR = 0.026. The model accounted for 21 percent of variance in solutions to the needs of mathematic teachers competency development. Regard to LISREL analysis, the methods used for teacher development were statistically significant were workshop, study visit, and academic seminar. According to the cross impact analysis, The self-study method tended to be the most important methods to solve mathematical teachers’ needs.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวท.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น