กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6743
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.advisorเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.authorสุรีย์ บุญรักษา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:05Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:05Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6743
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้แทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน หัวหน้างาน จำนวน 6 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คนของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ด้านการบริหารงานตามโครงสร้างการบริหารงาน 6 งาน 1.1) การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการนิเทศ 1.2) การบริหารงานบุคลากร ได้แก่ การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร การจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ระบบพี่เลี้ยง 1.3) การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ ได้แก่ พัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ประกอบด้วย การจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา การจัดกระบวนการพัฒนาแผน และการทบทวน 1.4) การบริหารงานกิจการนักเรียน ได้แก่ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบด้วย แผนการดำเนินการ การจัดโครงการ/กิจกรรม การติดตามประเมินผล 1.5) การบริหารงานอาคารสถานที่ ได้แก่ พัฒนาการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การกำหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ การใช้แหล่งเรียนรู้ กำกับ และติดตาม 1.6) การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน ได้แก่ พัฒนาการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมกำหนดแผน การร่วมกิจกรรมตามแผน การประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการจัดกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบการเข้าถึงความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ 3) ปัจจัยที่สนับสนุนให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ กลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยี โครงสร้าง และการวัดผล ประสิทธิผลจากการนำรูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา:กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหาร คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ทีมครูจัดการความรู้งานบริหาร ทั้ง 6 งาน ในทุกขั้นตอน ผู้บริหารสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ครูสามารถนำการจัดการความรู้ไปพัฒนาสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหารงาน ทำให้เกิดเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการจัดการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนเมืองพัทยา
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.titleการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา : กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)
dc.title.alternativePrticiptory ction reserch for development of the knowledge mngement model of schools in the mueng ptty: cse study mueng ptty 7 school ( bn nong png khe
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to develop the management model for schools in Mueang Pattaya using case study with Mueang Pattaya 7 School (Ban Nong Pang Khae). The key informants were: one of the school administrator, 6 heads of school divisions, 9 heads of learning strands, and 5 school board members. The data collection involved document analysis, observation, in-depth interview, participatory observation. The data were analyzed through phenomenon analysis approach. It was found that the school knowledge management model comprised of three main elements, they were: 1. The administrative structure, this element consisted of 6 functions: 1.1 Academic affairs, having the function of developing learning activities, lesson planning, learning process and student monitoring. 1.2 Personnel management, having the function of developing and enhancing work efficiency consisting of developing staff development plan, developing staff development activities and mentoring team. 1.3 General management, financial management and procurement management, having the function for developing school development plan, and school plan revision. 1.4 Student affairs management, having the function to enhancing ethic and morality and the desirable characteristics. It consisted of operation plan, project management, following up activity and evaluation. 1.5 Building management and maintenance, consisted of developing the good atmosphere and environment with the function of planning the utilization of building, utilization of learning resources monitoring and following up. 1.6 Community relation management, having the function of encouraging community to participate in education provision. 2. Knowledge management process, consisted of knowledge identification, knowledge creation and acquisition, knowledge organization, knowledge access, knowledge codification and refinement, and knowledge sharing and learning. 3. The factors influencing successful knowledge management consisted of leadership, strategy, organization culture, technology, structure and evaluation. The results of the implementation of the management model were that there was a change in the school management. The participatory management was implemented. The teacher’s team applied the knowledge management with 6 tasks in every steps. The administrator supported knowledge sharing, using of technology for management. The teachers could apply the knowledge management accordingly to the school structure that resulted in efficiency organization.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น