กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6739
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรัณย์ ภิบาลชนม์ | |
dc.contributor.advisor | เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ | |
dc.contributor.author | ทิตยา สลิน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:17:59Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:17:59Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6739 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และศึกษาเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์เรื่อง โมเมนตัมและการชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) มีกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาสำหรับกลุ่มทดลอง แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ (5E) สำหรับกลุ่มควบคุม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance) และสถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาสูงกว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาสูงกว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ | |
dc.subject | ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | |
dc.title | การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และศึกษาเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์เรื่อง โมเมนตัมและการชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา | |
dc.title.alternative | A study of physics chievement physics problem solving skill nd eduction ttitude for physics on momentum nd collision of 11th grde students using inquiry method of teching enchnced by using poly’s problem solving technique | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were to compare physics learning achievement, problem solving skills and to study education attitude towards physics on Momentum and Collision of 11th Grade Students 1) using Inquiry Method (5E) enhanced by using Polya’s problem solving technique and 2) using Inquiry Method (5E). The samples of this research were 2 classes of 11th Grade Students of science-math program of Makudmuang Rajchawittayalai School in the second semester, academic year 2015, divided into two groups: a control group of 25 students and the experimental group of 25 students using Cluster Random Sampling. Instruments used in the study were the Inquiry Method (5E) lesson plan with exercises for enhancing problem solving skills, using Polya’s problem solving technique for the experimental group, the Inquiry Method (5E) lesson plan for the control group, physics achievement test, physics problem solving skills test and education attitude test towards physics. Data were analyzed by using mean, standard deviation (SD) Analysis of Covariance, and t-test. The results showed that 1. Students’ problem solving skills taught by the Inquiry Method (5E) enhancing problem solving skills by Polya’s problem solving technique were significantly statistic different with those taught by the Inquiry Method (5E) alone at .05 level. 2. Students’ physics learning achievement taught by the Inquiry Method (5E) enhancing problem solving skills by Polya’s problem solving technique were significantly statistic different with those taught by the Inquiry Method (5E) alone at .05 level. 3. Students’ education attitude towards physics taught by the Inquiry Method (5E) enhancing problem solving skills by Polya’s problem solving technique were significantly statistic different with those taught by the Inquiry Method (5E) alone at .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การสอนวิทยาศาสตร์ | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น