กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6732
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมาลี กาญจนชาตรี | |
dc.contributor.advisor | จันทร์พร พรหมมาศ | |
dc.contributor.author | วทัญญู วุฒิวรรณ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:17:57Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:17:57Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6732 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินจากความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพครู การเรียนรู้ผู้ใหญ่ และทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประถมศึกษา จำนวน 27 คน ระยะเวลาที่ใช้ 36 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการพัฒนาครู 2) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษา มีกระบวนการพัฒนาครูดังนี้ขั้นเตรียมความพร้อม เป็นปรับพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และการเขียนการจัดการเรียนรู้ ให้ครูทุกคนมีความรู้และความใจตรงกัน ขั้นวิเคราะห์ร่วมกัน ครูร่วมวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ว่ามีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หรือไม่ ขั้นจัดการปรับปรุง ครูร่วมกันปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และขั้นสะท้อนความคิด ครูนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้ว และวิธีการการทำงานร่วมกันของกลุ่มในการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร 2) ครูประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯเท่ากับ 2.86 คะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาครูฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเข้ารับการพัฒนาเท่ากับ 2.76 คะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน | |
dc.subject | ครูประถมศึกษา | |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | |
dc.subject | การเรียน | |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (ประถมศึกษา) | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก | |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ | |
dc.title.alternative | Elementry techers development model for science subject instructionl design integrted nture of science | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to develop the model for elementary school teacher to design instruction on teaching science by incorporating nature of science, and to evaluate the developed model through evaluating the elementary school teacher’s abiity in: designing science subject instruction and understanding of nature of science. The study process comprised two phases. The first phase was developing the model for elementary school teacher to be able to design instruction on teaching science by integrating nature of science, utilizing the concept of teacher professional development, adult learning and constructivism theory. The second phase was evaluating the effectiveness of the developed model. The samples were 27 elementary school teachers. The time spent for evaluation process was 36 hours. The tools used in the study were: 1) lesson plan for using the developed model, 2) instructional design assessment form, and 3) the test on understanding the nature of science. The statistics for data analyses were mean, standard deviation, and t-test. The research results were: 1) the teacher development model consisted of the following activities: the preparation stage, it is for preparing the knowledge on the nature of science, knowledge on instructional design to build the background knowledge, the analysis stage, the teachers analyzed to assure that the lesson plan incorporates the nature of science, the revision stage, the teachers revise the lesson plan according to the revision requirement, the final stage, the reflection stage, the teachers reflect and present the revised lesson plan. 2) Concerning the evaluation of the developed model, it was found that scores on the instructional design ability of the teachers was at 2.86 which are significantly higher than the pretest score at the .05 level. 3) The elementary school teacher possesses the score of understanding of nature of science after participating in the development model at 2.76 which is significantly higher than the pre participation at the .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | |
dc.degree.name | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น