กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6725
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorวนิดา จำนงค์ผล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:17:55Z
dc.date.available2023-05-12T03:17:55Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6725
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หลังใช้กระบวนการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และ4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาพบว่านักเรียนมีเจตคติโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectการแก้ปัญหา
dc.subjectหน้าที่พลเมือง
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.titleการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมโดยใช้กระบวนการการแก้ปัญหา
dc.title.alternativeThe study of chievement nd problem solving bility of prtom 2 students or civic duty,culture, nd socil life by problem solving process
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims 1) To compare learning achievement with regards to civics, cultural, and social life before and after the learning by problem solving process of Pratomsuksa 2 students. 2) To compare problem solving ability with regards civics, cultural, and social life before and after the learning by problem solving processof Pratomsuksa 2 students. 3)To study the attitudes of Pratomsuksa 2 stusents towards the learning after problem solving process. The sample used in this research was students in Pratomsuksa 2/3 students. Saint Paul Convent School in Sriracha Distric, Chonburi province. The second semester of academic year 2014.The sample consider of 34 students.Using Cluster random sampling technique with a classroom unit. The research instruments were 1) problem solving process plan; 2) a test to measure learning achievement that be show the reliability was 0.90; 3) a test to measure problem solving ability that be show the reliability was 0.90; and 4) a test to measure attitude towards learning by problem solving process. The percentage (%), standard deviation of item (SD), independent t-test The results showed that 1. The average scores of learning achievement with regards to civics, culture, and social life of Pratomsuksa 2 stusents in the post-test were significantly higher than pre-test scores at .05. 2. The problem solving ability with regards civics, culture, and social life of Pratomsuksa 2 stusents in the post-test were significantly higher than pre-test scores at .05. 3. The attitudes of Pratomsuksa 2 stusents towards the learning after problem solving process was overall at the highest level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น