กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6720
ชื่อเรื่อง: | การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano's taxonomy) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The construction of nlyticl thinking bility test for grde 5th, students in Thi lnguge subject ccording to Mrzno’s txonomy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีพร อนุศาสนนันท์ สมพงษ์ ปั้นหุ่น จิรัชญา แสงยนต์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาษาไทย -- แบบทดสอบ ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา แบบทดสอบ -- การออกแบบและการสร้าง ความคิดและการคิด -- แบบทดสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน และสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 860 คน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งการดำเนินการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามโครงสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจับคู่ ด้านการจำแนก ด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ด้านการสรุปความทั่วไป และด้านการสรุปเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะ 2. การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ซึ่งประกอบด้วย ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สูตร The point-biserial correlation coefficient ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 ค่าความตรงตามสภาพโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบ วัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 3. การสร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ด้วยวิธีการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนเปอร์เซ็นไทล์" ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าดัชนี ความสอดคล้องของเนื้อหากับนิยามตัวชี้วัด เท่ากับ .60-1.00 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง .20-.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .08-.72 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .81 มีค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ .83 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 2660.857 (p = .00) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .019 ดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .840 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .828 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ .979 และดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .010 เป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืน จึงพิจารณาได้ว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นในรูปตารางตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน พบว่า มีคะแนนดิบตั้งแต่ 13 ถึง 71 คะแนน เปอร์เซ็นไทล์ .37 ถึง 99.87 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6720 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น