กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/672
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และบุตรธิดาต่อการอยู่อาศัย ในสถานสงเคราะห์คนชรากับคุณค่าทางสังคมไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The views of the elderly living in a home for the aged and of their off springs towards staying in the home for the elderly and the values of Thai society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กชกร สังขชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ - - การสงเคราะห์ - - ไทย - - วิจัย
ผู้สูงอายุ - - วิจัย
สถานสงเคราะห์คนชรา - - ไทย - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2539
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุและบุตรธิดา ต่อการอยู่อาศัยในสถานสงเคราะห์คนชรากับคุณค่าทางสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จำนวน 17 คน และบุตรธิดาที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยายเชิงพรรณาความ และใช้สถิติแบบร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ส่วนที่มีผลต่อผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ทางบวกและทางลบ ทางบวก พบว่า ผู้สูงอายุไม่ต้องการรับผิดชอบหาเลี้ยงชีพหรือหารายได้ด้วยตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 58.82 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าทำให้บุตรธิดาสบายใจ หมดความกังวลที่ไม่ต้องรับภาระเลี้ยงดู และผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาครอบครัวในเรื่องค่าใช้จ่ายหมดไป ทางลบ พบว่า ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่น ขาดความเอื้ออาทรจากลูกหลาน คิดเป็นร้อยละ 58.82 รู้สึกว้าเหว่ และคิดถึงบุตรธิดามากที่สุด เมื่อเวลาเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ 52.94 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าบุตรธิดาควรจะแสดงความกตัญญููกตเวทีต่อบุพการี คือ รู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าบุตรธิดาควรจะสืบทอดต่อไปเรื่องครอบครัวไทยคือ เลี้ยงดูผู้สูงอายุให้อยู่ในครอบครัวเมื่อยามแก่ชรา เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทย คิดเป็นร้อยละ 88.24 2. ส่วนที่มีผลต่อบุตรธิดา แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ทางบวกและทางลบ ทางบวก พบว่า บุตรธิดาส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาของครอบครัวในเรื่องค่าใช้จ่ายหมดไป คิดเป็นร้อยละ 35.29 ทางลบ พบว่า บุตรธิดาส่วนใหญ่ขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเวลาที่มีความทุกข์ ไม่มีที่ปรึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.18 บุตรธิดาเพศชายส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าถ้าตนมีรายได้เพียงพอจะรับมารดาบิดามาอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 41.18 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้สูงอายุและบุตรธิดาเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมไทย 5 ประการ ซึ่งบุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอันได้แก่ 1) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบแทน 2) ช่วยทำการงานของท่าน 3) ดำรงวงศ์สกุล 4) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 3.1 กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิง เพศชาย ส่วนใหญ่คิดว่าการที่บุตรธิดาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตอบแทนตนทั้ง 5 ประการที่กล่าวมาแล้วไม่ได้รู้สึกอะไร เพราะไม่ได้คาดหวังว่าบุตรธิดาจะต้องปฏิบัติทั้ง 5 ประการแก่ตน ในส่วนของความกตัญญูกตเวที ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่าบุตรธิดาควรรู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน และบุตรธิดาควรจะสืบทอดต่อไปในเรื่องครอบครัวไทย คือ เลี้ยงดูผู้สูงอายให้อยู่ในครอบครัวเมื่อยามแก่ชรา 3.2 กลุ่มบุตรธิดา เพศหญิง เพสชาย พบว่า สาเหตุที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมารดาบิดาครบ 5 ประการนั้น เนื่องจากปัญญาทางเศราฐกิจ แต่คิดว่าถ้าท่านล่วงลับไปแล้วจะทำบุญอุทิศให้ท่าน เรื่องความกตัญญูกตเวทีนั้น แสดงความคิดเห็นว่า บุตรธิดาควรจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี คือ รู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฎอยู่ในสังคมไทย ส่วนในเรื่องการสืบทอดหน้าที่ของครอบครัวไทยนั้น พบว่า บุตรธิดาเพศหญิงส่วนใหญ่ไม่เคยไปเยี่ยมผู้สูงอายุเลยตั้งแต่ท่านเข้ารับการสงเคราะห์ใสสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง ไม่สอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย บุตรธิดาเพศชายส่วนใหญ่ พบว่า ไปเยี่ยมผู้สูงอายุมากกว่า 3 ครั้ง นับตั้งแต่ท่านเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง สอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยครั้งนี้สนับสนุนให้บุตรธิดาเลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ในครอบครัวเดียวกันเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทยสืบไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/672
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_133.pdf9.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น