กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6717
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศ์เทพ จิระโร | |
dc.contributor.advisor | สมศักดิ์ ลิลา | |
dc.contributor.author | พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:17:53Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:17:53Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6717 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยและพัฒนา (Research and development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการวิจัย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 560 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secord order confirmatory factor analysis) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะ การวิจัย ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน (Implementation) กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้การวิจัย แบบประเมินความรู้การวิจัย แบบประเมินทักษะการวิจัย แบบประเมินคุณลักษณะและแรงจูงใจ แบบประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย และแบบประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ตรวจสอบความตรงเชิงจำแนกของรูปแบบการประเมินด้วยการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการประเมินสมรรถนะการวิจัยตามเกณฑ์การประเมินอภิมานของ Stufflebeam (2001) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test one sample) ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้การวิจัย (Knowledge) ทักษะการวิจัย (Research skill) และบุคลิกลักษณะและแรงจูงใจ (Trait and motive) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติวัดความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ทุกตัว (พิจารณาจากค่า Chi-square=14.85, df=6, p-value=0.02149, RMSEA=0.0514, NFI=0.997, NNFI=0.994, CFI=0.998, GFI=0.992, AGFI=0.965) รูปแบบการประเมินสมรรถนะการวิจัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์การประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน ผู้ทำการประเมิน วิธีการประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ผลการนำรูปแบบไปใช้ในสถานการณ์จริง พบว่า รูปแบบสามารถจำแนกกลุ่มอาจารย์ที่มีประสบการณ์การวิจัยและกลุ่มอาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์การวิจัยได้โดยให้ค่าความถูกต้องในการจำแนกกลุ่มได้ร้อยละ 100 ทั้งนี้ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความรู้การวิจัย สามารถเขียนเป็นสมการดังนี้ แสดงว่า รูปแบบการประเมินมีความตรงเชิงจำแนก และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของ Stufflebeam อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การประเมินผลงาน | |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ผลงานวิจัย -- การประเมิน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | สมรรถนะ | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ | |
dc.title.alternative | Development of reserch competency evlution model for lecturers of Southern Rjbht University | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to develop a research competency evaluation model for lecturers of southern Rajabhat university. Research and development method is used and it divided into 4 phases as follow: first phase, studying competency research components whih 560 lecturers from Surat Thani Rajabhat University, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Phuket Rajabhat University Songkhla Rajabhat University and Yala Rajabhat University, they were selected by the stratified random sampling method. A questionnaire on lecturers’ research competency was employed and data were analyzed by exploratory factor analysis and secord order confirmatory factor analysis. Second phase, developing the research competency evaluation model, validating the appropriateness and feasibility of the model. Implementing the model with 12 Rajabhat lecturers. The data were collected by the following evaluation tools: research knowledge test, research knowledge evaluation form, research skills evaluation form, traits and motive evaluation form, research proposal plan evaluation form and research output evaluation form. The discriminative validity of the model was analyzed by using discriminant analysis. Final phase, evaluation of the research competency model using Stufflebeam’s (2001) meta-evaluation criteria. The means, standard deviation and t-test one sample were analyzed. The result unveiled that the research competency structure of evaluation model of lecturers of southern Rajabhat university consisted of 3 components. These were research knowledge, research skill, and trait and motive. They harmoniously corresponded with empirical evidence in which the statistical harmonious value meeting all criteria (by considering from Chi-square=14.85, df=6, p-value=0.02149, RMSEA=0.0514, NFI=0.997, NNFI=0.994, CFI=0.998, GFI=0.992, AGFI=0.965) The research competency evaluation model for lecturers of southern Rajabhat university consisted of 8 components: evaluation purpose, intention, indicator, criteria, evaluator, method, time, and feedback. The appropriateness and feasibility of model were at high level. In practice, the model was able to distinguish experienced and unexperienced lecturer groups with 100 per cent. The research knowledge was considered an effective discriminant factor which its linear discriminant function can be expressed as . The model, therefore, had discriminative validity and accepted effect based on Stufflebeam’s evaluation criteria statistically significant at .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น