กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6708
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุปราณี ธรรมพิทักษ์
dc.contributor.authorยุทธศักดิ์ วาสนจิตต์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T03:17:51Z
dc.date.available2023-05-12T03:17:51Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6708
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการ สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเอง 4 ด้าน คือด้านปฐมนิเทศ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ ชั้นยศ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และลักษณะงาน ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นข้าราชการ สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติที (t-test) สถิติค่าความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และสถิติ Welch และ Brown-forsythe ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe’ หรือ LSD หรือ Dunnett’s T3 ผลการวิจัย พบว่า ข้าราชการ สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองทัพไทย มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นกันเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการปฐมนิเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการ ที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน แตกต่างกันมีระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน ข้าราชการที่มีรายได้แตกต่างกันมีระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านปฐมนิเทศด้านการฝึกอบรม และด้านการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการที่มีชั้นยศแตกต่างกันมีระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านการปฐมนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการที่มีลักษณะงานแตกต่างกัน มีระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านการปฐมนิเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บังคับบัญชาควรสนับสนุนให้ข้าราชการที่บรรจุใหม่ โอนย้ายมาใหม่และหรือผู้ที่ได้รับการปรับย้ายเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ได้รับการปฐมนิเทศ มีหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นประจำทุก ๆ ปี ส่งเสริมการสึกษา ดูงานหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะหลักสูตรเฉพาะทาง และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสำนักงานตรวจสอบภายในทหารกองบัญชาการกองทัพไทย -- ข้าราชการ
dc.subjectการพัฒนาตนเอง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subjectทหาร -- การพัฒนาบุคลากร
dc.subjectข้าราชการทหาร -- การพัฒนาตนเอง
dc.titleความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารกองบัญชาการกองทัพไทย
dc.title.alternativePersonl development needs of personnel of office of internl udit, royl thi rmed forces hedqurters
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this rcsearch is to study the personal development needs of personnel of Office of Internal Audit, Royal Thai Armed Forces Headquarters and to compare the needs of personal development in 4 sides: orientation, training, education and information technology. The personal factors are sex, age, educational background, income, rank, working hours and job description. The population in this research are 100 personnel who work for Office of Internal Audit, Royal Thai Armed Forces Headquarters. The tool which is used to collect data is questionnaire. The statistics that are used to analyze data are the frequency, the percentage, the average, the standard deviation. The hypothesis is exmined by t-test, One-way ANOVA, Welch and Brown-forsytghe. The multiple comparisons are tested by Scheff’e or LSD or Dunnett’s T3. The result of this research demonstrates that the level of the personal development needs of personnel of Office of Internal Audit, Royal Thai Armed Forces Headquarters is high in general. By considering each side, the level of needs is also high. The sides can be sorted by the highest level of needs to the lowest which are training, orientation, information technology and education. When the personal development needs are compared with the personal factors, it shows the difference of sex , age, educational background and working hours does not give the different result. The different income of the personnel differentiates the level of orientating and education, given the significance level of .05. The difference of rank differentiates the level of needs of orientation, given the significance level of .05. The difference of job description differentiates the level of orientation, given the significance level of .05. The recommendation of this research is that commanding officers should support the personnel who has just been appointed, transferred or ranked or ranked up by arranging orientation, setting up training course regularly every year, supporting education, visiting other institutions, especially a specific course and applying information technology to the job systematically in order to get the efficient evaluation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น