กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6707
ชื่อเรื่อง: สภาวการณ์เข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conditions of combodin mifrnt lbors in Nkhon Rtchsim province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณากร ทาวะรมย์
ณัฎฐ์วัฒน์ ธนพรรณสิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: แรงงานต่างด้าว -- การจ้างงาน -- ไทย -- นครราชสีมา
แรงงานต่างด้าวกัมพูชา -- ไทย -- นครราชสีมา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาแรงงานข้ามชาติสัญชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผ็ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) ที่เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบจากข้อมูลที่ได้มาและจัดระบบให้เป็นหมวดหมู๋เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาสรุปหาใจความสำคัญโดยตีความหมาย แยกแยะข้อมูลที่มีความหมายเดียวกันอยู่ในแนวเรื่องเดียวกัน และสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาวการณ์การเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา พบว่า รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินเลี้ยงตนเองและครอบครัว เป็นเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย และขั้นตอนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่เข้ามาในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงแรก ๆ เข้ามาผิดกฎหมายและเมื่อเข้ามาได้สักระยะหนึ่งได้งานที่แน่นอนและมีรายได้เพียงพอตามต้องการ จึงมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบแรงงานภาคอุตสาหกรรมซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมาย 2. ปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันในการเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า (1) ด้านสภาพงานและลักษณะงาน สภาพการจ้างงานที่มีไม่เพียงพอเกิดปัญหาการว่างงาน ทำให้เข้ามาหางานทำที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย และลักษณะงานส่วนใหญ่ที่ได้ทำเป็นแรงงานกรรมกร (2) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อาชีพที่แรงงานมีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายสูงคือ มีโอกาสที่จะเข้าไปทำงานในอาชีพเดียวกันในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี หากแรงงานกลุ่มนี้ได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนต่ำกว่าแรงงานอาชีพเดียวกันในต่างประเทศมากมีแนวโน้มที่แรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายออกเพื่อแสวงหารายได้ที่สูงกว่า (3) ด้านวัฒนธรรม ค่านิยม การดำเนินชีวิตที่ขาดสิ่งจูงใจด้านความก้าวหน้า นโยบายกำลังคนไม่เหมาะสม ทำให้กำลังคนส่วนหนึ่งไม่ตรงกับความต้องการของประเทศ ในทางกลับกันกำลังคนเหล่านี้เป็นที่ต้องการของประเทศอื่น จึงมีแนวโน้มค่อนข้างมากในกทารเคลื่อนย้ายออก (4) ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตรสามารถลดจำนวนแรงงานในชนบทลงไปได้จึงต้องออกจากถิ่นเดิมไปเพื่อหาโอกาสในการทำงานอื่น ๆ อีกทั้งสิ่งแวดล้อมที่อำนวยต่อการดำเนินชีวิตก็มีส่วนทำให้แรงงานจากประเทศด้อยพัฒนาสู่ประเทศอื่น (5) ด้านกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เนื่องจากความไม่พอใจในสภาพสังคมหรือการเมืองในประเทศ ทั้งการเมืองที่มีความวุ่นวายและกดขี่ มีการกีดกันในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และขาดการคุ้มครองแรงงาน จึงทำให้อยากอพยพออกไปประเทศอื่น และ (6) ด้านนโยบายแรงงาน รวมทั้ง ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ปัญหาขาดแคลนแรงงานในระดับล่างที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ทำให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการต้องหาแรงงานจากที่อื่นเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป 3. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า แรงงานข้ามชาติก่อนเข้าสู่ประเทศไทยมมีสภาพชีวิต ของแรงงานต่างด้าวทั้งด้านครอบครัว ด้านสังคม และด้านการทำงานนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องดิ้นรนกับการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงและปัญหารายได้ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดแรงงานไทยเป็นต้นมานั่นเอง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6707
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น