กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6704
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกาญจนา บุญยัง
dc.contributor.authorศิณวิชญ์ เรืองขำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T03:17:50Z
dc.date.available2023-05-12T03:17:50Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6704
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมั่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบทัศนคติ และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางแสน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางแสน จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ๋มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษารายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท สำหรับพฤติกรรมการใช้บริการรถตู้โดยสาร พบว่า เหตุผลที่เลือกใช้บริการรถตู้โดยส่วนใหญ่ คือ ความสะดวกในการเดินทาง ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการเดินทาง คือ กลับบ้าน ช่วงเวลาที่ใช้รถตู้โดยสารมากที่สุด คือ 16.00-18.59 น. ระยะเวลาที่รอคอยรถตู้โดยสารประมาณ 16-30 นาที ความถี่ที่ใช้บริการ คือ 2 ครั้ง/เดือน มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรถตู้โดยสารต่อเดือน คือ 1-250 บาท และต้องการใช้บริการรถตู้โดยสารต่อไป กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการใช้บริการรถตู้โดยสารทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านความปลอดภัยในการใช้บริการที่กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติอยู่ในระดับไม่ดี ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีทัศนคติต่อการใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางแสน ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับทัศนคติของผ็ใช้บริการรถตู้โดยสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางแสน ด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยรถตู้โดยสารและด้านช่วงเวลาในการเดินทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectรถตู้โดยสาร -- ไทย -- ชลุบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subjectบริการสาธารณะ -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectทัศนคติ
dc.titleทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย) - บางแสน
dc.title.alternativePssenger’ ttiudes nd behvior of using the Bngkok (ekkmi)-bng sen public vn service
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study and compare passengers’ attitudes and test the relationship between their attitudes and behavior when using the Bangkok(Ekamai)-Bang Saen public vans route. The sample population for this study consisted of 250 passengers who used the Bangkok (Ekamai)-Bang Saen public van route. Questionnaires were used as a tool to collect data. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Chi-square test. The results of the study showed that the sample population was mostly female; aged 20-29 years; single; graduating with a bachelor’s degree; students; and those with monthly income of below 10,000 baht. In terms of public van use, is was found that the most common reason for using the service was convenience; the most common purpose for transport was for returning home; the preferred period of time for using the service was 04.00-06.59 p.m.; the most common waiting time was 16-30 minutes; the frequency of use of the service was 2 times/ month; the monthly cost of using the service was 1-250 baht, and; the respondents wanted to continue using the public van service. In both overall and individual aspects, the samples’ attitudes toward the use of public vans was at a moderate level, except for safety, which was evaluated at a poor level. Hypothesis testing showed that respondents of different gender, age, marital status, educational level, occupation, and monthly income did not have different attitudes toward the use of Bangkok (Ekamai)-Bang Saen public vans. Attitude was related to behavior in using the service of public vans in terms of transport cost and the period of time of using the service when the level of statistical significance was set at 0.05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น