กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6703
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุณี หงษ์วิเศษ | |
dc.contributor.author | ติรยา สรรพอุดม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:17:50Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:17:50Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6703 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน และ ประสบการณ์ในการทำงาน และประการสุดท้ายเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง 4 ด้าน 1) ด้านการฝึกอบรม 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และ4) ด้านระบบพี่เลี้ยงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 200 คน จากสูตรการคำนวณของยามาเน่ (Yamane, 1973) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริษัทมีต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก จำแนกตามรายด้าน ด้านการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยี ด้านคุณธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากตามลำดับ และ ด้านระบบพี่เลี้ยงอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเรียนเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน จำแนกตาม เพศ พบว่า พนักงานเพศหญิงมีความต้องการพัฒนาตนเองมากกว่าพนักงานที่มีอายุในกลุ่มอื่น วุฒิการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีความต้องการพัฒนาตนเองมากกว่าพนักงานที่มีวุฒิการศึกษากลุ่มอื่น ตำแหน่งงาน พบว่า พนักงานแผนกบุคคล มีความต้องการพัฒนาตนเองมากกว่าพนักงานที่มีตำแหน่งงานในกลุ่มอื่น ประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า พนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง มากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มอื่น ผลการวิจัยข้อเสนอแนะความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอเรื่องอยากฟังธรรมะจากพระอาจารย์ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การพัฒนาบุคลากร -- ชลบุรี | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป | |
dc.title | ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Self-development needs of stff t beverge production compny in mt nkhon industril estte, chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study and compare the level of self-development need of staff at a beverage production company in Amata Nakhon Industrial Estate, Chonburi Province, classified according to sex, age, education level, position and work experience as well as to offer suggestions regarding the issue. The research tool is a 5-level questionnaire about self-development needs in four areas: 1) training; 2) technology; 3) ethics and morality, and; 4) the mentoring system. The study population was 200 staff members chosen using Yamane’s formula (Yamane, 1973) and the statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of the research indicate that the staff had a high level of self-development need. Divided by development area, training, technology and ethics and morality, respectively, all showed a high level of need, of need, while the mentoring system showed a medium level of need. When staff needs were analysed by characteristics, women had a higher level of need than men; staff under 25 had a higher level of self-development need than other age groups; Bachelor’s degree graduates had a higher level of need than other educational types; human resources staff had the highest level of need among the positions, and; staff with a work experience of 6-10 years had higher needs than other age groups.According to the results, most staff requested sermons from respected monks as a desirable technique in self-development. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารทั่วไป | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น