กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6693
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evlution of helth promotion project in Tkhin Ti municiplity, Bng Lmung district, Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุณี หงษ์วิเศษ
ณัฐวรรณ แย้มละมัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- การส่งเสริมสุขภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
การส่งเสริมสุขภาพ -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบในการประเมินผลโครงการครั้งนี้ เพื่อนำผลกระประเมินไปประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลงานเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสามารถทราบถึงกระบวนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆเป็นไปตามรูปแบบของการประเมินทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยนั้น ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม และบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) โดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า คิดเห็นเกี่ยวกับผลดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.240, σ=0.27) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับ 1 (μ=4.250, σ=0.40) รองลงมาคือ ด้านการกระบวนการ (μ=4.244, σ=0.33) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (μ=4.236, σ=0.37) และด้านปัจจัยนำเข้า (μ=4.231, σ=0.42) ตามลำดับ 1) การประเมินผลด้านบริบท หรือสภาพแวดล้อม เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้แบบสอบถามเข้าร่วมกิจกรรม เหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรการดำเนินโครงการ และด้านการสนับหนุน ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินผลด้านกระบวนการ ในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินผลด้านผลผลิต พบว่า โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้รับการดูแลและการให้ความรู้ด้านสุขภาพและจิตใจ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6693
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น