กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/669
ชื่อเรื่อง: เครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A learning network on the temple charity annual fair enhances the community strength
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมหมาย แจ่มกระจ่าง
พีระพงษ์ สุดประเสริฐ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ขนมหวาน - - ชลบุรี
งานวัด - - การมีส่วนร่วมของประชาชน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ชลบุรี
วัดกับชุมชน - - ชลบุรี - - วิจัย
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง เครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษา 1. รวบรวมประวัติความเป็นมาการจัดงานประจำวัดของวัดในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2. เครือข่ายการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญประจำปีของวัดในจังหวัดชลบุรี และ 3. ภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาหลายรูปแบบ คือ จากการศึกษาเอกสารและผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการพบคนในชุมชน การพูดคุย การสนทนา การสังเกต การสัมภาษณ์ และการเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญของแต่ละวัด อย่างต่อเนื่องและเป็นปกติ พื้นที่ศึกษากิจกรรมงานบุญประกอบด้วย 6 วัด คือ วัดท้ายดอน วัดตาลล้อม ในตำบลบ้านเหมือง วัดบางเป้ง วัดใหม่เกตุงาม วัดเตาปูน ในตำบลบ้านปึก และวัดเสม็ด ในตำบลเสม็ด ซึ่งไม่มีวัดอื่นใดในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ทำกิจกรรมงานบุญในลักษณะเดียวกันนี้ การเก็บข้อมูลวิจัยนี้ ต้องทำตลอดปี เนื่องจากงานบุญของแต่ละวัดจัดขึ้นไม่พร้อมกันซึ่งเป็นการเอื้ออำนวยเวลาซึ่งกันและกัน จัดเวลาให้ต่อเนื่องกันเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันทุกวัด แต่ละวัดมีกำหนดวัน เดือน ไว้ล่วงหน้าเป็นที่รู้กันในชุมชน งานประจำปีของวัดที่ศึกษา 6 วัดมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไปคือ มีการรวมตัวของชาวบ้านมาช่วยกันทำอาหารหวานคาวเพื่อหารายได้เข้าวัด โดยที่ผู้มาช่วยงานวัดมีความสมัครใจ มีความอิ่มเอม เบิกบานใจที่ได้มีโอกาสช่วยงานวัดด้วยความผูกพัน เคารพบูชาอดีตเจ้าอาวาสสืบต่อกันมา รวมทั้งผู้วิจัยด้วย ซึ่งผู้วิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเช่นเดียวกัน และได้มีการสรางเครือข่ายเอาแรงช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างวัด เรียนรู้ภูมิปัญญาทั้งหลาย ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างฉันมิตร กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นขึ้น บริบทงานบุญของ วัดทั้ง 6 วัด มีลักษณะเดียวกันคือประกอบด้วย 1 งานทำบุญถวายภัตาหารอุทิศส่วนกุศลให้บูรพาจารย์ของวัดผู้ล่วงลับไปแล้ว 2. การปิดทองรูปปั้นจำลองบูรพาจารย์ของวัด 3. มโหรสพ การละเล่น และ 4. การออกร้านอาหารคาว ซึ่งพบว่ากระบวนการสรางเครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญของวัด เกิดจากปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ และแรงขับเคลื่อน 2 ประการคือ ปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ 1. ความศรัทธาต่อวัด ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนทุกด้าน คนในชุมชนมีความรู้สึกว่าวัดเป็นของชุมชน ยินดีสละกำลังกายและทรัพยากรเพื่อพัฒนาวัด เป็นความรู้สึกสืบต่อมาจนทุกวันนี้ 2. ความศรัทธาต่อบุคคล อดีตเจ้าอาวาสเป็นผู้มีคุณูปการต่อชุมชนรอบด้าน เมื่อเจ้าอาวาสซึ่งมีลูกศิษย์และคนศรัทธาจำนวนมากมรณภาพไป การทำบุญอุทิศส่วนกุศลจึงมีคนมาร่วมทำบุญและช่วยงานจำนวนมาก 3. ศรัทธาต่อการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานาน เพื่อแสดงความระลึกถึงและส่งกุศลไปยังผู้ล่วงลับไปแล้ว 4. ภูมิปัญญาท้องถิ่น กะละแม ข้าวเหนียวแดง และขนมเทียนแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการพัฒนาปรับปรุงสืบทอดกันมานาน มีความลงตัวเป็นที่ยอมรับของชุมชน จนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 5. การเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำอาหารของวัด มีการถ่ายทอดความรู้ภายในชุมชนโดยผู้ร่วมกิจกรรมมีโอกาสพบปะ พูดคุยกัน เป็นมิตรดีต่อกัน ผู้มีลักษณะผู้นำ จะเป็นที่ยอมรับและเป็นผู้นำกิจกรรมของชุมชน แรงขับเคลื่อน 2 ประการ 1. ทุนทางสังคมของชุมชน เป็นทุนทางสังคมเดิมของชุมชนซึ่งในอดีตเป็นชุมชนที่มีทุนทางสังคมสูง มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน เมื่อมีงานบุญประเพณี จึงมีการช่วยเหลือในสิ่งที่สามารถทำได้ คือการเอาแรงช่วยเหลือทำอาหารเพื่อจำหน่ายให้ทั้ง 6 วัด ซึ่งการช่วยเหลือกันจะเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และสืบทอดต่อ ๆ กัน 2. กระแสความนิยมการสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ หรือรูปปั้นจำลอง ทำให้เกิดการสรางรูปปั้นจำลองหลวงพ่อประจำวัดเพื่อให้ชาวบ้านปิดทองขอพร กระแสความนิยมของท้องถิ่นทำให้คนที่ยวงานวัดและซื้อขนมพื้นบ้านมากขึ้น และถือว่าการได้มาช่วยซื้ออาหารของวัดเป็นการช่วยทำบุญเข้าวัดได้อีกทางหนึ่ง A research on a Learning Network on the Temple Charity Annual Fair Enhances the Community Strength their communities while holding the district annual charity aimed at tracing: the background of the fairs, the knowledge acquired and the culinary wisdom. Means of studies were: documents, meeting, talking, interviewing with the inhabitants observing and regularly joining the fairs. Samples were 6 temple: the Taidorn, the Tranlorn in Ban-Muang District, the Bang-Peng, the Mi-Ketngarm, the Taopoon in the Ban-Puek District, and the Samed District, all of which held the unique annual charity temple fair being studied. Management of the 6 annual charity temple fairs was uniquely different from those of the rest in the province. That was people in the precincts got together and worked to get the temples the charity fund. These benevolent folks had wholeheartedly been working for the temples due to their ties and respect for the late abbots. Socialization and exchanging of the knowledge among the disciples of each temple to the rest reigned supreme. This kind of performance was unique to the temples in the location being studied. The process of the merit making of the 6 temples annual charity fairs was of the same pattern: 1) offering alms to the monks the merit of which was to be dedicated to the late venerable monks; 2) gilding the late venerable monk statues; 3) having stalls to sell goodies for Charity found. It was found that the situation that enhanced learning in the temple fairs had stemmed from 5 factors and 2 drives: The 5 factors: 1. Faith in the temples: in the past a temple was, in all respects, the community center Each inhabitant considered the temple their asset. Thus, they devoted themselves to working for the temple. The idea had been cherished up to the present days. 2. Faith in the abbots: the late venerable abbots had been benevolent, so the inhabitants made it a must to attend the temple fairs. They were there for merit making. 3. Making merit to commemorate the dead had been traditionally practiced. 4. Goodies like kalamae, knoniewdaeng, Kanomtiankaew had been perfectly prepared and appreciated by the communities. 5. The culinary knowledge had been passes on to all in comminities. At the same time there were socialization among community members. On top of that those who had leadership were recognized and chosen leaders. The 2 drives: 1. Social background: the communities had the high rate of social interaction, and people were willing to lend their hands to each other. Thus when the temple fairs took place, everyone took turns raising fund for the temples. These people had been changing to one another from generation to generation. 2. The trendy idea of making statues of the eminence initiated an idea of making the abbots statues, at which the people gilded to ask for blessings, this attitude as well as the goodies attract people to the fairs.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/669
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น