กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6667
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรม People based safety (PBS) ที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of people bsed sfety (pbs) progrm on sfety behviors mong mintennce workers in petrochemicl fctory, ryong province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ พรทิพย์ เย็นใจ ธนกฤต พิทักษ์เพ็ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม People Based Safety (PBS) ที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยองโปรแกรม People Based Safety (PBS) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ชี้บ่งพฤติกรรมเป้าหมาย 2) การสำรวจ พฤติกรรม 3) ดำเนินการส่งเสริมและปรับปรุงพฤติกรรม 4) ทดสอบเพื่อวัดผลเครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถาม พฤติกรรมความปลอดภัยภายใน (การรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัย) 2) การวัดพฤติกรรม ภายนอกโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยตนเองแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติตาม ขั้นตอนการทำงาน (Permit to work) ด้านการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ด้านการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Tool and equipment) วิเคราะห์ข้อมูลการรับรู้ และ ทัศนคติด้านความปลอดภัยด้วยสถิติ Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลการสังเกตพฤติกรรมความ ปลอดภัยตนเองด้วยสถิติ Repeated Measures ANOVA ผลการศึกษาประชากร จำนวน 16 คน เป็นพนักงานชายทั้งหมด มีอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 50.0 การศึกษาระดับ ปวส. ร้อยละ 50.0 เป็นตำแหน่งช่างเทคนิค ร้อยละ 50.0 ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ร้อยละ 81.2 มีประสบการณ์ทำงาน 3-5 ปี ร้อยละ 43.7 ผลการศึกษา พฤติกรรมความปลอดภัยภายใน พบว่า คะแนนเฉลี่ย 35.1 ระดับการรับรู้ปานกลาง หลังทดลอง คะแนนเฉลี่ย 44.4 ระดับการรับรู้ดี คะแนนเฉลี่ย 74.4 ระดับทัศนคติปานกลาง หลังทดลอง คะแนน เฉลี่ย 95.1 ระดับทัศนคติดีซึ่งค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมความปลอดภัยภายในก่อนและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.05) และพฤติกรรมความปลอดภัย ภายนอก พนักงานปฏิบัติตามพฤติกรรมความปลอดภัยได้ครบ 100% ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p = 0.05)การศึกษาครั้งนี้สามารถนำโปรแกรม People Based Safety (PBS) ไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพนักงาน อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งผลให้องค์กรเกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยได้ต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6667 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น