กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6659
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The reltionship between motivtion prevention nd preventive behvior ginst severe injury from motorcycle ccidents of voctionl students in public eductionl institutions in mung district, nkhon pthom province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
สมใจ อ่อนละเอียด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
อุบัติเหตุจักรยานยนต์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะยอดนิยมของคนไทย ที่ใช้ในการเดินทาง แต่ละปีจึงมีอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก เมื่อรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่เกิดอุบัติเหตุ คนขับ และ คนซ้อน มักได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากศีรษะถูกกระแทกกับของแข็ง หรือของมีคม การใช้ หมวกนิรภัย สามารถป้องกันความรุนแรงได้ระดับหนึ่ง แต่ประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ไม่นิยมใช้ จึงต้องหาแนวทางส่งเสริมให้สวมหมวกนิรภัยประจำ ตลอดระยะเวลาการขับขี่หรือซ้อน ดังนั้น การศึกษานี้ จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษา 242 คน ซึ่งสุ่มมาจากสถานศึกษาของรัฐ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ข้อมูลเก็บโดยส่งแบบสอบถามให้ตอบในห้องเรียน เมื่อมีนาคม 2560 และวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาที่ศึกษา เป็นนักศึกษาชาย และหญิงพอๆ กัน (51.2% กับ 48.8%) อายุเฉลี่ย 17.50±1.59 ปี นักศึกษา ร้อยละ 45.9 ใช้รถจักรยานยนต์ทุกวัน และมีแรงจูงใจในการป้องกันโดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 82.8 รับรู้ความรุนแรงมากสุด รองลงมาคาดหวังผลป้องกัน รับรู้โอกาสเสี่ยง และคาดหวังว่าสามารถทำได้ เฉลี่ยร้อยละ 86.6, 86.5, 85.1 และ 72.9 ตามลำดับ นักศึกษา มีพฤติกรรมการป้องกันโดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 76.5 ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรมากสุด รองลงมา ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับขี่ ตรวจสภาพรถ สวมหมวกนิรภัย และไม่ขับรถเร็ว เฉลี่ยร้อยละ 84.1, 80.5, 78.2, 74.2 และ 65.4 ตามลำดับ แรงจูงใจในการป้องกันโดยรวม การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง คาดหวังผลการป้องกัน และคาดหวังสามารถป้องกันได้ กับพฤติกรรมการป้องกันความรุนแรงสัมพันธ์กันเชิงบวก ให้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.234, 0.141, 0.161, 0.259 และ 0.276 (p < .05) ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันอุบัติเหตุและความรุนแรงของการบาดเจ็บให้นักศึกษาเพิ่มขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6659
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf936.67 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น