กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6659
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ | |
dc.contributor.author | สมใจ อ่อนละเอียด | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:14:56Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:14:56Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6659 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะยอดนิยมของคนไทย ที่ใช้ในการเดินทาง แต่ละปีจึงมีอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก เมื่อรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่เกิดอุบัติเหตุ คนขับ และ คนซ้อน มักได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากศีรษะถูกกระแทกกับของแข็ง หรือของมีคม การใช้ หมวกนิรภัย สามารถป้องกันความรุนแรงได้ระดับหนึ่ง แต่ประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ไม่นิยมใช้ จึงต้องหาแนวทางส่งเสริมให้สวมหมวกนิรภัยประจำ ตลอดระยะเวลาการขับขี่หรือซ้อน ดังนั้น การศึกษานี้ จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษา 242 คน ซึ่งสุ่มมาจากสถานศึกษาของรัฐ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ข้อมูลเก็บโดยส่งแบบสอบถามให้ตอบในห้องเรียน เมื่อมีนาคม 2560 และวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาที่ศึกษา เป็นนักศึกษาชาย และหญิงพอๆ กัน (51.2% กับ 48.8%) อายุเฉลี่ย 17.50±1.59 ปี นักศึกษา ร้อยละ 45.9 ใช้รถจักรยานยนต์ทุกวัน และมีแรงจูงใจในการป้องกันโดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 82.8 รับรู้ความรุนแรงมากสุด รองลงมาคาดหวังผลป้องกัน รับรู้โอกาสเสี่ยง และคาดหวังว่าสามารถทำได้ เฉลี่ยร้อยละ 86.6, 86.5, 85.1 และ 72.9 ตามลำดับ นักศึกษา มีพฤติกรรมการป้องกันโดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 76.5 ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรมากสุด รองลงมา ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับขี่ ตรวจสภาพรถ สวมหมวกนิรภัย และไม่ขับรถเร็ว เฉลี่ยร้อยละ 84.1, 80.5, 78.2, 74.2 และ 65.4 ตามลำดับ แรงจูงใจในการป้องกันโดยรวม การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง คาดหวังผลการป้องกัน และคาดหวังสามารถป้องกันได้ กับพฤติกรรมการป้องกันความรุนแรงสัมพันธ์กันเชิงบวก ให้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.234, 0.141, 0.161, 0.259 และ 0.276 (p < .05) ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันอุบัติเหตุและความรุนแรงของการบาดเจ็บให้นักศึกษาเพิ่มขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | อุบัติเหตุจักรยานยนต์ | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม | |
dc.title.alternative | The reltionship between motivtion prevention nd preventive behvior ginst severe injury from motorcycle ccidents of voctionl students in public eductionl institutions in mung district, nkhon pthom province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Motorcycles are a popular vehicle used by Thai people to travel. Each year, there are many motorcycle accidents. When a motorcycle is driving an accident, drivers and overlapping are often severely injured. Because the head is hit with a solid or sharp object. The use of helmets can prevent violence in one level, but people, especially teenagers or students are not popular use. It must find ways to promote them use always a safety helmet during driving or overlapping a motorcycle. Therefore, this study was to investigate the relationship between protection motivation concepts and behavior toward motorcycle accident victims of vocational students. The sample consisted of 242 students randomly selected from the public schools in Muang District, Nakhon Pathom province. Data were collected by submitting a questionnaire to the classroom, by March 2017and analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation. The results showed that students of male and female students amount close (51.2% and 48.8%), average age of 17.50 ± 1.59 years old. The students used the motorcycle every day were 45.9 percent. There were overall prevention motivation at the 82.8 percent of average score; perceived severity in the most, follow by response efficacy, vulnerability and self-efficacy in the least, at the 86.6, 86.5, 85.1 and 72.9 percent of average score respectively. The students had overall protective behavior at the 76.5 percent of average score; practice in traffic sign in the most, followed by not drinking alcohol before driving, motorcycle check, wear a helmet and not drive fast at the 84.1, 80.5, 78.2, 74.2 and 65.4 percent of average score respectively. Overall protection motivation; severity, vulnerability, response efficacy and self-efficacy and preventive behavior of students was positive correlated, given correlation coefficients 0.234, 0.141, 0.161, 0.259 and 0.276 respectively. So, it should be promoted motivation for prevent the accidents and severe injury in vocational students. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 936.67 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น