กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6647
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความเชื่ออำนาจในตนและนอกตนที่มีต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับบริการในโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of internl nd externl helth locus of control on illness of chronic ptients in rnyprthet hospitl,skeo province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ บุษยาเนตร วงษ์พล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรัง -- ผู้ป่วย -- การดูแล โรคเรื้อรัง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น โดยเฉพาะเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง ยังมีคนส่วนหนึ่งเชื่อว่ามีอำนาจเหนือตน หรือมีคนอื่นทำให้เจ็บป่วยรวมถึงเชื่อว่าเกิดจากเวรกรรม จึงเป็นปัญหากระทบต่อการดูแลรักษา ดังนั้น การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาความเชื่ออำนาจในตนและภายนอกตนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีต่อสาเหตุของการเจ็บป่วยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง 345 คน ตามทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยนัดของโรงพยาบาลอรัญประเทศจังหวัดสระกัว ข้อมูลเก็บด้วยการสัม ภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความเชื่ออำนาจในตนและนอกตน ระหว่างกลุ่มตัวแปรที่ศึกษาด้วย Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจในตนและนอกตนด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนมาก (56.8%) เป็นผู้หญิง อายุเฉลี่ย 61.05± 11.77 ปี ไม่ทำงาน (42.9%) ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 7± 4.85 ปี มีโรคแทรกซ้อน (27.8%) เคยพักรักษาใน โรงพยาบาล (24.6%) และเชื่อแพทย์แผนโบราณ (54.8%) ผู้ป่วยเชื่ออำนาจตนเองมากสุดเฉลี่ย ร้อยละ 65.7 เชื่ออำนาจคนอื่นรองลงมาเฉลี่ยร้อยละ 50.7 และเชื่ออำนาจโชคชะตาน้อยสุดเฉลี่ย ร้อยละ 43.1 ผู้ป่วยที่มีอายุป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เคยพักรักษาในโรงพยาบาล เชื่อแพทย์แผนโบราณ ต่างกัน มีความเชื่ออำนาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนผู้ป่วยที่มีเพศระยะเวลาการป่วย และมีโรคแทรกซ้อนต่างกัน มีความเชื่ออำนาจไม่แตกต่างกัน ความเชื่ออำนาจตนเองกับความเชื่ออำนาจคนอื่นและความเชื่ออำนาจโชคชะตาสัมพันธ์กันเชิงลบให้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ - 0.588 และ - 0.693 (p < .01) ส่วนความเชื่ออำนาจคนอื่นกับความเชื่ออำนาจโชคชะตาสัมพันธ์กันเชิงบวกให้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.488 (p < .01) ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจให้ผู้ป่วยรู้สาเหตุที่แท้จริงของการป่วยให้มากขึ้น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6647 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 922.95 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น