กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6643
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการผลิตเนื้อไก่แปรรูปส่งออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mngement guidelines for promoting physicl exercise for employees in the workplces of export processing chicken met
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุวดี รอดจากภัย
อนามัย เทศกะทึก
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
ประสิทธิ์ กมลพรมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
การออกกำลังกาย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการผลิตเนื้อไก่แปรรูปส่งออก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการสร้างแนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ ผสานวิธี โดย ใช้แบบสอบถามพนักงานในสถานประกอบการ 480 คน แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบในสถานประกอบการ 16 คน และแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย และค่าพิสัยคลอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหา ความต้องการ และการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายสำหรับพนักงาน คือ มีสภาพปัญหาไม่สามารถหาเวลาในการออกกำลังกายได้จากเวลาที่หมดไปในการปฏิบัติงาน การเดินทางไปออกกำลังกาย และสถานประกอบการไม่จัดเวลาให้ออกกำลังกาย ส่วนความต้องการของพนักงานที่พบ คือ ต้องการรับการสนับสนุนอุปกรณ์ สถานที่ออกกำลังกาย งบประมาณ และมีนโยบายที่ชัดเจน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการออกกำลังกายของพนักงาน พบว่าเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ประโยชน์ การปฏิบัติการส่งเสริม การประเมินผล การสนับสนุนจากสถานประกอบการ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การวางแผน การรับข้อมูลข่าวสาร และการรับรู้อุปสรรคในการออกกำลังกาย ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงาน ยืนยันทั้ง 8 องค์ประกอบ เรียงจากมากไปน้อยคือ การปฏิบัติการส่งเสริม การประเมินผล การวางแผน การสนับสนุนจากสถานประกอบการ การรับข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์ ในการออกกำลังกาย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.97-0.20 จากการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่า 2/ df เท่ากับ 1.98 ค่า GFI, AGFI, SRMR, RMSEA เท่ากับ 0.954, 0.901, 0.070 และ 0.045 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบของการส่งเสริมการออกกำลังกาย ตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ประกอบด้วย แนวทางการวางแผนการมี 6 ขั้นตอน คือ กำหนดและประกาศนโยบาย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดบทบาทหน้าที่ สำรวจและจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย จัดทำแผนงาน/ โครงการ การสนับสนุนทรัพยากร แนวทางการปฏิบัติงานมี 5 กลวิธี คือ การมีส่วนร่วม การสนับสนุนและการสร้างแรงจูงใจ การสื่อสารสุขภาพ การสร้างทักษะส่วนบุคคล การเข้าถึงบริการสุขภาพและการออกกำลังกาย แนวทางการประเมินผลมี 5 ขั้นตอน คือ การประเมินผลเป็นระยะ การประเมินผลจากการดำเนินการ การประเมินผลลัพธ์ การประเมินผลกระทบ รายงานผลและการเผยแพร่ผลการดำเนินการ ดังนั้น สถานประกอบการควรปรับการวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ในการดำเนินงานส่งเสริมการออกกำลังกายให้สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6643
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น