กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6643
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุวดี รอดจากภัย | |
dc.contributor.advisor | อนามัย เทศกะทึก | |
dc.contributor.advisor | บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ | |
dc.contributor.author | ประสิทธิ์ กมลพรมงคล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:14:54Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:14:54Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6643 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการผลิตเนื้อไก่แปรรูปส่งออก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการสร้างแนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ ผสานวิธี โดย ใช้แบบสอบถามพนักงานในสถานประกอบการ 480 คน แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบในสถานประกอบการ 16 คน และแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย และค่าพิสัยคลอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหา ความต้องการ และการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายสำหรับพนักงาน คือ มีสภาพปัญหาไม่สามารถหาเวลาในการออกกำลังกายได้จากเวลาที่หมดไปในการปฏิบัติงาน การเดินทางไปออกกำลังกาย และสถานประกอบการไม่จัดเวลาให้ออกกำลังกาย ส่วนความต้องการของพนักงานที่พบ คือ ต้องการรับการสนับสนุนอุปกรณ์ สถานที่ออกกำลังกาย งบประมาณ และมีนโยบายที่ชัดเจน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการออกกำลังกายของพนักงาน พบว่าเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ประโยชน์ การปฏิบัติการส่งเสริม การประเมินผล การสนับสนุนจากสถานประกอบการ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การวางแผน การรับข้อมูลข่าวสาร และการรับรู้อุปสรรคในการออกกำลังกาย ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงาน ยืนยันทั้ง 8 องค์ประกอบ เรียงจากมากไปน้อยคือ การปฏิบัติการส่งเสริม การประเมินผล การวางแผน การสนับสนุนจากสถานประกอบการ การรับข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์ ในการออกกำลังกาย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.97-0.20 จากการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่า 2/ df เท่ากับ 1.98 ค่า GFI, AGFI, SRMR, RMSEA เท่ากับ 0.954, 0.901, 0.070 และ 0.045 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบของการส่งเสริมการออกกำลังกาย ตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ประกอบด้วย แนวทางการวางแผนการมี 6 ขั้นตอน คือ กำหนดและประกาศนโยบาย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดบทบาทหน้าที่ สำรวจและจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย จัดทำแผนงาน/ โครงการ การสนับสนุนทรัพยากร แนวทางการปฏิบัติงานมี 5 กลวิธี คือ การมีส่วนร่วม การสนับสนุนและการสร้างแรงจูงใจ การสื่อสารสุขภาพ การสร้างทักษะส่วนบุคคล การเข้าถึงบริการสุขภาพและการออกกำลังกาย แนวทางการประเมินผลมี 5 ขั้นตอน คือ การประเมินผลเป็นระยะ การประเมินผลจากการดำเนินการ การประเมินผลลัพธ์ การประเมินผลกระทบ รายงานผลและการเผยแพร่ผลการดำเนินการ ดังนั้น สถานประกอบการควรปรับการวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ในการดำเนินงานส่งเสริมการออกกำลังกายให้สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | การออกกำลังกาย | |
dc.title | แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการผลิตเนื้อไก่แปรรูปส่งออก | |
dc.title.alternative | Mngement guidelines for promoting physicl exercise for employees in the workplces of export processing chicken met | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study was aimed at the circumstance problems and demand, promoting physical exercise for employees in the workplace of export processing chicken meat, the confirmatory factor analyses of promoting physical exercise for employees in the workplaces of export processing chicken meat, and the guidelines for health and promoting physical exercise for employees in the workplace of export processing chicken meat. The research consisted of mixed methods. The in-depth interview of 16 people with Delphi technique, and the questionnaires of 480 employees in the workplace, and the questionnaires of 17 health promotion professionals. The statistics used are percentage, mean, and standard deviation, the confirmatory factor analysis, content analysis, median, range and Interquartile Rang. From the studies, it was found that: 1. The circumstance problems and demand, promoting physical exercise for employees in the workplace have found problems were work do not have time to exercise, take a long trip to a fitness center, the establishment is not the time for employees to exercise, the demand is to support equipment and fitness center, budget support for activities, the policy of promoting exercise is clear, opinion of employees about promoting physical exercise ranking from the highest to the lowest, namely perceived benefits of exercise, Implementing healthy exercise, evaluation of healthy exercise, support by the establishment, perceived self-efficacy to exercise, planning healthy exercise, receive information and perceived barriers to exercise. 2. The confirmatory factor analyses of the healthy exercises for employees in the workplaces models consists of 8 factors, namely Implementing healthy exercise, evaluation of healthy exercise, planning healthy exercise, support by the establishment, receive information, perceived self-efficacy to exercise, perceived barriers to exercise, perceived benefits of exercise, ranking from the highest to the lowest factor loadings of 0.97, 0.95, 0.94, 0.88, 0.87, 0.50, 0.29 and 0.20. The validation of a good model yielded a Chi-square of 279.84, at a degrees of freedom of 141, χ 2/ df = 1.98, GFI = 0.954, AGFI = 0.901, SRMR = 0.070, RMSEA = 0.045. The variables in the healthy promotional exercises for employees in the workplaces models were consistent with the empirical data. 3. The management guideline, for healthy promotional exercises for employees in the workplaces of export processing chicken meat consist of three parts, i.e. Planning guidelines for the promotional exercises including imposed policies, announced policies, the board Appointments order the assign roles, the surveys and preparation of data, Analysis of the factors that influence exercise behavior, resources support. Implementing guidelines for exercise promotion, include participation, support and motivation, health communication, creating personal skills, access to health and exercise. The evaluation guidelines for the promotional exercises for employees in the workplace including evaluation, periodic, evaluation of the productivity gained from the implementation, evaluate the results of implementation, evaluate the impact that has been conducted, reported and published the results. Therefore, the workplaces should adjust the planning, implementation, evaluation In the promotion of physical activity, consistent with the context of the the workplaces. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น