กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/664
ชื่อเรื่อง: | ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนกรณีศึกษาหาดนางรองเกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marine biologica resources and conservation and sustainable uses : case study had nang-rong, jorake islands and juang islands, amphur sattahip, Chon Buri province, the gulf of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิภูษิต มัณฑะจิตร สุเมตต์ ปุจฉาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล ความหลากหลายทางชีวภาพ - - เกาะจระเข้ (ชลบุรี) ความหลากหลายทางชีวภาพ - - เกาะจวง (ชลบุรี) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | แผนงานวิจัยเรื่องทรัพยากรชีวภาพทางทะเลกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หาดนางรองเกาะจระเข้ และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนรายสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เป็นชุด โครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี ตังแต่ปีงบประมาณ 2551-2553 ประกอบด้วยโครงการวิจัยภายใต้แผนวิจัย 4 โครงการ ได้แก่ 1. สถานภาพทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายฝั่งทะล บริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2. ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลหาดนางรอง เกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 3. ความหลากหลายทางชีวภาพของโคพีพอดและไมซิด บริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 4. ลักษณะทางพีนธุกรรมและความหลากหลายของจุลชีพที่อาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเล แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๖โครงการ อพ.สธ.) ในการสำรวจ หมู่เกาะสัตหีบจังหวัดชลบุรี ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพทะเลบริเวณพื้นที่วิจัยแก่ชุมชน ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคคลทั่วไป รวมทั้งสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2551*2553 ของแผนวิจัยมีดังนี้คือ -คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินตามแผนวิจัย การนำเสนอผลการวิจัยสู่ชุมชน การฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของแต่ละโครงการวิจัยของแผนวิจัยฯ ตั้งแต่งบประมาณ 2551-2553 ปีละ 3 ครั้ง และได้ดำเนินงานวิจัยบรรลุวัตถุสงคืและแผนปฏิบัติงานที่ได้วางไว้ -แผนงานวิจัยฯ ให้การสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายการสำรวจและเก็บตัวอย่างของแต่ละโครงการวิจัยของแผนวิจัยฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2553 รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนกันยายน 2553 -แผนงานวิจัยได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ศึกษาบริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้ และเกาะจวง ซึ่งเป็นช้อมูลในระดับพันธุกรรมจนถึงชนิดของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่แบคทีเรีย สาหร่ายทะเลจนถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ ดังนี้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำไม่น้อยกว่า 160 สายพันธุ์ สาหร่ายทะเล 120 ชนิด หญ้าทะเล 1 ชนิด ฟองน้ำทะเล 67 ชนิด หอยทะเล 198 ชนิด เอคไคโนเดิร์ม 27 ชนิด เพรียงหัวหอม 11 กลุ่มแพลงก์ตอนพืช 86 สกุล ไม่น้อยกว่า 190 ชนิดและแพลงก์ตอนสัตว์ 34 สกุล ไม่น้อยกว่า 50 ชนิด กลุ่มโคพีพอดและไมชิด พบโพพีพอด 47 ชนิดจาก 24 สกุลและไมชิด 17 ชนิดจาก 11 สกุล -คณะผู้วิจัยได้สนับสนุนเสนอผลงานวิจัยของโครงการวิจัยของแผนวิจัยฯ ในการประชุมวิชาการ "ทรัพยากรไทย: ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย" ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการประจำปีชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ. สธ. ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2552 ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 เรื่องและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดนิทรรศการหน่วยงานสนองพระราชดำริของมหาวิทยาลัยบูรพาในการประชุมวิชาการนี้และสนับสนุนการประชุมวิชาการและนิทรรศการ "ทรัพยากรไทย: ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ" ระหว่างวันที่ 1-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ ศูนย์ฝึกหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคดนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา -คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเรื่อง "การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลเพื่อสาร้างสื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน" แก่เยาวชนในโรงเรียนโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จำนวน 41 คน ระหว่างวันที่ 6-11 พฤศจิกายน 2552 ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ผลสำเร็จของการฝึกอบรมได้รับความสำเร็จได้ได้ สื่อโปสเตอร์ค้นแบบจำนวน 4 ภาพ และโปสเตอร์ขนาดเล็กจำนวน 41ภาพ นักเรียนที่เข้ารับการฝึกอบรมพอพอใจในการจัดฝึกอบรมฯ ครั้งนี้ ร้อยละ 95.6 แผนงานวิจัยได้สรา้งนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรี จำนวน 2 คน คือ นางสาววาสนา พุ่มบัว และนางสาววรรณนิภา ชอบรัมย์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานแผนวิจัย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสภาพภูมิอากาศไม่อำนวยในช่วงฤดูมรสุม ทะเลมีคลื่นลมรุนแรงมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงจุดสำรวจบางสถานีและเก็บข้อมูลได้ไม่ต่อเนื่อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/664 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น