กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6637
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุวดี รอดจากภัย | |
dc.contributor.advisor | นิภา มหารัชพงศ์ | |
dc.contributor.author | โศภิสุดา วิบูลย์พันธุ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:12:20Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:12:20Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6637 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ คือวัยรุ่นที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 396 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับวัยรุ่นและผู้ปกครองของวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาในรูปของจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติวิเคราะห์ Chi square test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวันร้อยละ 85.4 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์เฉลี่ย 9.78 ชั่วโมงต่อวัน และในช่วง วันจันทร์-ศุกร์เฉลี่ย 5.61 ชั่วโมงต่อวัน สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ เฟซบุ๊ค ร้อยละ 95.7 รองลงมาคือยูทูบ ร้อยละ 86.6 และไลน์ ร้อยละ 78.8 ผู้ปกครองมีบทบาทต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นอยู่ในระดับน้อย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องเพศ ทั้งการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การประเมินค่าสื่อและการสร้างสรรค์สื่ออยู่ในระดับพอใช้และมีพฤติกรรมทางเพศอยู่ในระดับดี และความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น พบว่า การเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ และการสร้างสรรค์สื่อสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินค่าสื่อกับพฤติกรรมทางเพศ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างโปรแกรมสร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สังคมออนไลน์เรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่นสามารถรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์เรื่องเพศ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เรื่องเพศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ | |
dc.subject | พฤติกรรมทางเพศ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Assocition between socil medi litercy nd sexul behviors of dolescentsin bnglmung district, chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This cross sectional research aimed to analyze the association between social media literacy and sexual behaviors of adolescents in Banglamung district, Chonburi province. Three hundred and ninety six junior high school students from three schools were multi-stage sampled. Data were collected using self-administered questionnaire among students and their parents. The data were consequently analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, and Chi square test. The results showed that 85.4% of the sample group accessing and surfing the social media every day. The average hour for social media engagement on weekend was 9.78 hours a day; while it was 5.61 hours a day during weekdays. The first three social media the sample group mostly engaged were Facebook, YouTube, and Line application with the percentage of 95.7, 86.6, and 78.8, respectively and the parental control over their children’s media engagement was at low level. The media literacy including the aspects of accessing, analyzing, evaluating, and creating the media were at moderate level whereas the sexual behaviors were at good level. Moreover, there were relationships between sexual behaviours and media literacy in the aspects of accessing, analyzing, and creating the media with the statistical significance of 0.5; however, there was no relationship between sexual behaviours and media literacy in the aspects of evaluating the media. According to the results of the study, this could be applied to develop the program of social media literacy program over the sexual contents for the adolescents which leads to appropriate behaviours in recognizing the sexual content in social media | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การสร้างเสริมสุขภาพ | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น